ฤๅใบไม้จะพริ้วไหวตามแรงลม
ธรรมชาติ
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557
สีลวิสุทธิ
สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือ ประพฤติดี เลี้ยงชีวิตถูกต้อง มีศีลบริสุทธิ์ตามภูมิชั้นของตน คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวกล่าวมุ่งเฉพาะการปฏิบัติของพระภิกษุ หมายเอาปาริสุทธิศีล ๔ คือ
๑. ปาติโมกขสังวร ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต รักษาวินัย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาทั้งหลาย
๒. อินทรียสังวร ศีลคือความสำรมอินทรีย์ ได้แก่ ระวังไม่ให้อกุศลธรรมความชั่วครอบงำจิตใจในเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖
๓. อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ ได้แก่ การเลี้ยงชีวิตโดยชอบธรรม
๔. ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ๔ ได้แก่ การใช้สอยปัจจัย ๔ โวยปัญญาพิจารณาให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้นๆ ไม่บริโภคด้วยตัณหา, ปัจจยปฏิเสวนศีล ก็เรียก
วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557
วิปัสสนาญาณ
เริ่มเจริญวิปัสสนา
การเจริญวิปัสสนา ต้องเจริญเพื่อมรรคผล อย่างแบบคิดว่า พอเป็นอุปนิสัยเท่านั้น การปฏิบัติแบบคิดว่าพอเป็นนิสัย ไม่ควรมีในหมู่พุทธศาสนิกชน เพราะเป็นการดูแคลนพระพุทธศาสนาเกินไป พูดกันตรง ๆ ก็ว่า ไม่มีความเชื่อถือจริง และไม่ใช่นักปฏิบัติจริง ปฏิบัติตามเขาพอได้ชื่อว่าฉันก็ปฏิบัติวิปัสสนาคนประเภทนี้แหละที่ทำให้พระพุทธศาสนา เสื่อมโทรม เพราะทำไปไม่นานก็เลิกแล้วก็เอาความไม่จริงไม่จังของตนเองนี่แหละไป โฆษณา บอกว่าฉันปฏิบัตินานแล้วไม่เห็นมีอะไรปรากฏเป็นการทำลายพระศาสนาโดยตรง ฉะนั้น นักปฏิบัติแล้วควรตั้งใจจริงเพื่อมรรคผล ถ้ารู้ตัวว่าจะไม่เอาจริงก็อย่าเข้ามายุ่ง ทำให้ศาสนาเสื่อมทรามเลย ต่อไปนี้จะพูดถึงนักปฏิบัติที่เอาจริง
ก่อนพิจารณาวิปัสสนา
ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา ท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อนเข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิ ถ้าเป็นฌานที่ ๔ ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิ ๆ ไม่ถึงฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌานจนเต็มกำลังสมาธิที่ได้เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้วค่อยๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้น อย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้น ๆ นั้น จะเกิดเป็นอารมณ์ ประจำใจไม่หวั่นไหว เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลื่อนไปฌาน ต่อไปเป็น ลำดับ ทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกันทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการ ทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริง ต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้
ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ
นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่นักวิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้ว ท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วนด้วย ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบูรณ์ บารมี ๑๐ นั้นมีดังต่อไปนี้
ทาน คือการให้ ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อ สงเคราะห์ ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์ เต็มใจในการให้ทาน เป็นปกติ ไม่มีอารมณ์ไหวหวั่นในการให้ทาน
ศีล รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือ ไม่ทำศีล ให้ขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่น ละเมิดศีลไม่ดีใจเมื่อ คนอื่นละเมิดศีล
เนกขัมมะ การถือบวช คือถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือ สิกขาบท อย่างเคร่งครัดถ้าเป็นฆราวาส ต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ทีเป็นที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือทรงฌานเป็นปกติ อย่างต่ำก็ก็ปฐมฌาน
ปัญญา มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ
วิริยะ มีความเพียรเป็นปกติ ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล
ขันติ อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจเมื่อต้องอดทน
สัจจะ มีความจริงใจ ไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล
อธิษฐาน ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งใจไว้ เช่น สมัยที่สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรง อธิษฐานว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จ พระโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้ แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปหรือชีวิต จะตักษัย คือสิ้นลมปราณก็ตามทีพระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลกแล้วพระองค์ก็ทรง บรรลุในคืนนั้น การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว สำเร็จ ทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน
เมตตา มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูล มีอารมณ์เป็น เมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดี บางวันร้ายอย่างนี้ไม่มีหวัง
อุเบกขา ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดใจ อารมณ์ที่ถูกใจ รับแล้วก็ทราบว่าไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไปไม่มีอะไรน่ายึดถือพบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตก ว่า เรื่องอย่างนี้มันธรรมดาของโลกแท้ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง
บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมากถ้า นักปฏิบัติบกพร่องในบารมี ๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบูรณ์ไม่ได้ ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็น ผู้บกพร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง ถ้าบารมี ๑๐ ครบถ้วนแล้ว ผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกัน ไม่ใช่นับเดือนนับปี ฉะนั้น ท่านนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลต้องสนใจปฏิบัติในบารมี ๑๐ นี้ ไม่ให้ บกพร่องเป็นกรณีพิเศษ
วิปัสสนาญาณสามนัย
วิปัสสนาญาณที่พิจารณากันมานั้น ท่านสอนไว้เป็นสามนัย คือ
พิจารณาตารมแบบวิปัสสนาญาณ ๙ ตามนัยวิสุทธิมรรค ที่ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ รจนาไว้
พิจารณาตามนัยอริยสัจ ๔
พิจารณาขันธ์ ๕ ตามในพระไตรปิฎก ที่มีมาในขันธวรรค
ทั้งสามนัยนี้ ความจริงก็มีอรรถ คือความหมายเป็นอันเดียวกัน โดยท่านให้เห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน ท่านแยกไว้เพื่อเหมาะแก่อารมณ์ของแต่ละท่าน เพราะบางท่านชอบค่อยทำไปตามลำดับ ตามนัยวิปัสสนาญาณ ๙ เพราะเป็นการค่อยปลด ค่อย เปลื้องตามลำดับทีละน้อย ไม่หนักอกหนักใจ บางท่านก็ชอบพิจารณาแบบรวม ๆ ใน ขันธ์ ๕ เพราะเป็นการสะดวกเหมาะแก่อารมณ์ บางท่านที่ชอบพิจารณาตามแบบอริยสัจนี้ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเอง และนำมาสอนปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ท่านเหล่านั้นได้มรรคผล เป็นปฐม ก็เพราะได้ฟังอริยสัจ แต่ทว่าทั้งสามนี้ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน คือให้เห็น อนัตตาในขันธ์ ๕ เหมือนกัน ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคและในขันธวรรค ในพระไตรปิฎก ว่าผู้ใดเห็นขันธ์ ๕ ผู้นั้นก็เห็นอริยสัจ ผู้ใดเห็นอริยสัจก็ชื่อว่าเห็นขันธ์ ๕
เอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์
นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั้นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่า เราเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง
สังโยชน์ ๑๐
สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมอยู่ในวัฏฏะมี ๑๐ อย่างคือ
สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา
วิจิกิจฉา สงสัยในผลการปฏิบัติว่า จะไม่ได้ผลจริงตามที่ฟังมา
สีลัพพตปรามาส ถือศีลไม่จริงไม่จัง สักแต่ถือตาม ๆ เขาไปอย่างนั้นเอง สามข้อ นี้ ถ้าตัดได้เด็ดขาด ท่านว่าได้บรรลุเป็นพระโสดา กับพระสกิทาคามี
กามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และอาการ ถูกต้องสัมผัส
ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งใจ ทำให้ไม่พอใจ อันนี้เป็นโทสะแบบเบาๆ ข้อ (๑) ถึง (๕) นี้ ถ้าละได้เด็ดขาด ท่านว่าบรรลุเป็นอนาคามี
รูปราคะ พอใจในรูปธรรม คือความพอใจในวัตถุ หรือ รูปฌาน
อรูปราคะ พอใจในอรูป คือเรื่องราวที่กล่าวถึง หรือ ในอรูปฌาน
อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทาง
มานะ ความถือตนโดยความรู้สึกว่า เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา
อวิชชา ความโง่ คือหลงพอใจในกามคุณ ๕ และกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ ที่ ท่านเรียกว่า อุปาทาน เป็นคุณธรรมฝ่ายทราม ที่ท่านเรียกว่า อวิชชา
สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผลเครื่องวัด อารมณ์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสจำกัดไว้อย่างนี้ ขอนักปฏิบัติจงศึกษาไว้ แล้วพิจารณาไปตามแบบ ท่านสอนเอาอารมณ์มาเปรียบกับสังโยชน์ ๑๐ ทางที่ดีควรคิดเอาชนะกิเลสคราวละข้อ เอาชนะ ให้เด็ดขาด แล้วค่อยเลื่อนเข้าไปทีละข้อ ข้อต้น ๆ ถ้าเอาชนะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งเลื่อนเข้าไปหา ข้ออื่น ทำอย่างนี้ได้ผลเร็ว เพราะข้อต้นหมอบแล้ว ข้อต่อไปไม่ยากเลย จะชนะหรือไม่ชนะ ก็ข้อต้นนี้แหละ เพราะเป็นของใหม่และมีกำลังครบถ้วนที่จะต่อต้านเรา ถ้าด่านหน้าแตก ด่านต่อไปง่ายเกินคิด ขอให้ข้อคิดไว้เพียงเท่านี้ ต่อไปจะนำเอาวิปัสสนาญาณสามนัยมากล่าว ไว้พอเป็นแนวปฏิบัติพิจารณา
วิปัสสนาญาณ ๙
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ
๓. ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย
๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร
๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่า ควรวางเฉยในสังขาร
๙. สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ
ญาณทั้ง ๙ นี้ ญาณที่มีกิจทำเฉพาะอยู่ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึง ญาณที่ ๘ เท่านั้น ส่วนญาณ ที่ ๙ นั้น เป็นชื่อของญาณบอกให้รู้ว่า เมื่อฝึกพิจารณามาครบ ๘ ญาณแล้ว ต่อไปให้พิจารณาญาณทั้ง ๘ นั้น โดยอนุโลมและปฏิโลม คือพิจารณาตามลำดับไปตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๘ แล้วพิจารณาตั้งแต่ญาณที่ ๘ ย้อนมาหาญาณที่ ๑ จนกว่าจะเกิดอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ทุก ๆ ญาณและจนจิตเข้าสู่โคตรภูญาณ คือจิตมีอารมณ์ยอมรับนับถือกฎธรรมดา เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องด้วยตนหรือคนอื่นเป็นของธรรมดาไปหมด สิ่งกระทบเคยทุกข์เดือดร้อนก็ ไม่มีความทุกข์ ความเร่าร้อนไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งที่เป็นเหตุของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความผูกพัน ยอมรับนับถือกฎธรรมดาว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ อาการอย่างนี้ เป็นเรื่องธรรมดาแท้ ท่านว่าครอบงำความเกิด ความดับ ความตายได้เป็นต้น คำว่าครอบงำหมายถึงความไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว ใครจะตายหรือเราจะตายไม่หนักใจ เพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องตาย ใครทำให้โกรธในระยะแรกอาจหวั่นไหวนิดหนึ่ง แล้วก็รู้สึกว่านี่มันเป็นของธรรมดาโกรธทำไม แล้วอารมณ์โกรธก็หายไปนอกจากระงับ ความหวั่นไหวที่เคยเกิดเคยหวั่นไหวได้แล้ว จิตยังมีความรักในพระนิพพานยิ่งกว่าสิ่งใด สามารถจะสละวัตถุภายนอกทุกอย่างเพื่อพระนิพพานได้ทุกขณะมีความนึกคิดถึงพระนิพพานเป็นปกติ คล้ายกับชายหนุ่มหญิงสาวเพิ่งแรกรักกัน จะนั่ง นอน ยืน เดินทำกิจการงานอยู่ก็ตามจิตก็ยังอดที่จะคิดถึงคนรักอยู่ด้วยไม่ได้ บางรายเผลอถึงกับเรียกชื่อคนรัก ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้คิดว่าจะเรียกทั้งนี้เพราะจิตมีความผูกพันมาก คนรักมีอารมณ์ ผูกพันฉันใด ท่านที่มีอารมณ์เข้าสู่โคตรภูญาณก็มีความใฝ่ฝันถึงพระนิพพานเช่นเดียวกัน หลังจากเข้าสู่โคตรภูญาณเต็มขั้นแล้ว จิตก็ตัดสังโยชน์ ๓ เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน คือตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบอีก ท่านเรียกว่าได้อริยมรรคต้นคือเป็นพระโสดาบัน ต่อไปนี้ จะได้ อธิบายในวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นลำดับไปเป็นข้อ ๆ
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาความเกิดและความดับของสังขาร คำว่า สังขาร หมายถึง สิ่งที่เป็นร่างทั้งหมด ทั้งที่มีวิญาณและวัตถุ ท่านให้พยายามพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ ว่า สังขารนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว ต่อไปก็แตกสลายทำลายไปหมด ไม่มีสังขารประเภทใดเหลืออยู่เลย พยายามหาเหตุผลในคำสอนนี้ให้เห็นชัด ดูตัวอย่างคน ที่เกิดแล้วตาย ของที่มีขึ้นแล้วแตกทำลาย ดูแล้วคิดทบทวนมาหาตน และคนที่รักและไม่รัก ของที่มีชีวิตและไม่มีคิดว่านี่ไม่ช้าก็ต้องตายทำลายอย่างนี้ และพร้อมเสมอที่จะไม่หวั่นไหว ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างนั้น พิจารณาทบทวนอย่างนี้จนอารมณ์เห็นเป็นปกติ ได้อะไรมา เห็นอะไรก็ตาม แม้แต่เห็นเด็กเกิดใหม่ อารมณ์ใจก็คิดว่านี่ไม่ช้ามันก็พัง ไม่ช้ามันก็ทำลาย แม้แต่ร่างกายเรา ไม่ช้ามันก็สิ้นลมปราณ อะไรที่ไหนที่เราคิดว่ามันจะยั่งยืนถาวรตลอดกาล ไม่มีรักษาอารมณ์ให้เป็นอย่างนี้ จนอารมณ์ไม่กำเริบแล้วจึงค่อยย้ายไปพิจารณาญาณ ที่สอง จงอย่าลืมว่า ก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ว วิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรดีไปกว่า นั่งนึกนอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึก และหาทางโฆษณาว่าฉันทำมาแล้วหลายปีไม่เห็นได้ อะไรเลย จงจำระเบียบไว้ให้ดี และปฏิบัติตามระเบียบให้เคร่งครัด วิปัสสนาไม่ใช่ต้ม ข้าวต้ม จะได้สุกง่าย ๆ ตามใจนึก
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาถึงความดับ ญาณต้นท่านให้เห็นความเกิด และความดับสิ้นเมื่อปลายมือ แต่ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นความดับที่ดับเป็นปกติ ทุกวัน ทุกเวลา คือพิจารณาให้เห็นสรรพสิ่งทั้งหมดที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า คน สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา บ้านเรือนโรง ของใช้ทุกอย่าง ให้ค้นหาความดับที่ค่อย ๆ ดับตาม ความเป็นจริง ที่สิ่งเหล่านั้นค่อย ๆ เก่าลง คนค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจากความเป็นเด็ก และ ค่อยๆ ละความเป็นหนุ่มสาวถึงความเป็นคนแก่ ของใช้ที่ไม่มีชีวิตเปลี่ยนสภาพจาก เป็นของใหม่ค่อยๆ เก่าลง ต้นไม้เปลี่ยนจากเป็นต้นไม้ที่เต็มไปด้วยกิ่งใบที่ไสว กลายเป็นต้นไม้ที่ค่อยๆ ร่วงโรย ความสลายตัวที่ค่อยเก่าลง เป็น อาการของความสลายตัว ทีละน้อยค่อยๆ คืบคลานเข้าไปหาความสลายใหญ่คือความดับสิ้นในที่สุด ค่อยพิจารณา ให้เห็นชัดเจนแจ่มใส จนอารมณ์จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ คือมีความชินจิตว่าไม่มีอะไร มันทรงตัว ไม่มีอะไรยั่งยืน มันค่อยๆ ทำลายตัวเองอย่างนี้ทั้งสิ้น แม้แต่อารมณ์ใจก็ เช่นเดียวกัน อารมณ์ที่พอใจและอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็มีสภาพไม่คงที่มีสภาพค่อย ๆ สลายตัวลงไปทุกขณะเป็นธรรมดา
รวมความว่า ความเกิดขึ้นนี้เป็นสภาพที่จำต้องเดินไปหาความดับในที่สุด แต่กว่าจะถึงที่สุดก็ค่อย ๆ เคลื่อนดับ ดับทีละเล็กละน้อยทุกเวลาทุกขณะ มิได้หยุดยั้งความดับ เลยแม้แต่เสี้ยวของวินาที ปกติเป็นอย่างนี้จิตหายความหวั่นไหว เพราะเข้าใจและคิดอยู่ รู้อยู่อย่างนั้นเป็นปกติ
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ
ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว ท่านหมายถึงให้กลัวเพราะสังขารมีสภาพพังทลายเป็นปกติอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้ จะเอาเป็นที่พักที่พึ่งมิได้เลย สังขาร เมื่อมีสภาพต้องเสื่อมไปเพราะวันเวลาล่วงไปก็ดี เสื่อมเพราะเป็นรังของโรค มีโรคภัยนานา ชนิดที่คอยเบียดเบียน เสียดแทงจนหาความปกติสุขมิได้ โรคอื่นยังไม่มี โรคหิวก็รบกวน ตลอดวัน กินเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ กินแล้วกินอีก กินในบ้านก็แล้ว กินนอกบ้านก็แล้ว อาหาร ราคาถูกก็แล้ว ราคาแพงก็แล้ว มันก็ไม่หายหิว ถึงเวลามันก็เสียดแทงหิวโหยเป็นปกติของ มันฉะนั้น โรคที่สำคัญที่สุดพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า โรคนั้น คือโรคหิวดังพระบาลี ว่า ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา แปลว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง โรคภัยต่างๆ มีขึ้นได้ก็ เพราะอาศัยสังขาร ความหิวจะมีได้ก็เพราะอาศัยสังขาร ความแก่ ความทุกข์อันเกิดจาก ภยันตรายจะมีได้ ก็เพราะอาศัยสังขาร เพราะมีสังขารจึงมีทุกข์ ในที่สุดก็ถึงความแตกดับ ก็เพราะสังขารเป็นมูลเหตุ สังขารจึงเป็นสิ่งน่ากลัวมาก ควร จะหาทางหลีกเร้นสังขารต่อไป
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้เห็นโทษของสังขาร ความเจริญญาณนี้น่าจะจัดรวมกับ ญาณที่ ๓ เพราะอาการที่ทำลายนั้น เป็นอาการของสิ่งที่เป็นโทษอยู่แล้ว ฉะนั้น ข้อนี้จึง ไม่ต้องอธิบายโปรดถือคำอธิบายของญาณที่ ๓ เป็นเครื่องพิจารณา
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้มีความเบื่อหน่ายจากสังขาร เพราะสังขารเกิดแล้ว ดับในที่สุดนี้ประการหนึ่ง สังขารมีความดับเป็นปกติทุกวันเวลา หรือจะว่า ทุกลมหายใจเข้า ออกก็ไม่ผิด นี้ประการหนึ่ง สังขารเป็นภัย เพราะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเป็นปกติ และ ทำลายในที่สุดประการหนึ่ง สังขารเต็มไปด้วยความทุกข์และโทษประการหนึ่ง ฉะนั้นสังขาร นี้เป็นสภาพที่น่าเบื่อหน่าย ไม่เป็นของน่ารัก น่าปรารถนาเลย ญาณนี้ควรเอาอสุภสัญญา ความเห็นว่าไม่สวยไม่งามมาร่วมพิจารณาด้วย เอามรณานุสสติธาตุ ๔ มาร่วมพิจารณาด้วย จะเห็นเหตุเห็นผลชัดเจน เกิดความเบื่อหน่ายได้โดยฉับพลัน เพราะกรรมฐานที่กล่าวแล้ว นั้นเราพิจารณาในรูปสมถะอยู่แล้ว และเห็นเหตุผลอยู่แล้ว เอามาร่วมด้วยจะได้ผลรวดเร็ว และชัดเจนแจ่มใสมาก เกิดความเบื่อหน่ายในสังขารอย่างชนิดที่ไม่มีวันที่จะเห็นว่าน่ารัก ได้เลย
๖. มุญจิตุกัมมยตาญาณ
ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเพื่อใคร่ให้พ้นจากสังขาร ทั้งนี้เพราะอาศัยที่เห็นแล้ว จากญาณต้น ๆ ว่า เกิดแล้วก็ดับ มีความดับเป็นปกติ เป็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะโรคภัยไข้เจ็บจนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะหาความเที่ยง ความแน่นอนไม่ได้ ท่าน ให้พยายามหาทางพ้นต่อไปด้วยการพยายามหาเหตุที่สังขารจะพึงเกิดขึ้น เพราะถ้าไม่มี สังขารแล้ว ความทุกข์ความเบื่อหน่ายทั้งหลายเหล่านี้จะมีไม่ได้เลย การที่หาทางเบื่อหน่าย ท่านให้แสวงหาเหตุของความเกิดดังต่อไปนี้
ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย เป็นต้น มีขึ้นได้เพราะชาติ คือ ความเกิด
ชาติ ความเกิดมีได้เพราะ ภพ คือความเป็นอยู่
ภพ คือภาวะความเป็นอยู่ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อุปาทาน ความยึดมั่น
อุปาทาน ความยึดมั่นมีขึ้นได้ เพราะอาศัย ตัณหา คือความทะยานอยาก คือ อยากมี อยากเป็น อยากปฏิเสธ
ตัณหา มีได้ เพราะอาศัย เวทนา คือ อารมณ์ที่รู้สึกสุข ทุกข์ และเฉยๆ
เวทนา มีขึ้นได้ เพราะอาศัย ผัสสะ คือ การกระทบกระทั่ง
ผัสสะ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อายตนะ ๖ คือ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกสูดกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส และอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่เกิดแก่ใจ
อายตนะ ๖ มีขึ้นได้เพราะอาศัย นามและรูป คือ ขันธ์ ๕ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา คือ ร่างกายเรียกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม ท่านรวมเรียกทั้งรูปทั้ง นามว่า นามรูป
นามรูป มีขึ้นได้เพราะอาศัย วิญญาณปฏิสนธิ คือ เข้ามาเกิด วิญญาณ ในที่นี้ท่านหมายเอาจิต ไม่ได้หมายเอาวิญญาณในขันธ์ ๕
วิญญาณ มีขึ้นได้เพราะ มีสังขาร
สังขาร มีได้เพราะอาศัย อวิชชา คือ ความโง่เขลาหลงงมงาย มีความรัก ความพอใจในโลกวิสัยเป็นเหตุ
รวมความแล้ว ความทุกข์ทรมานที่ปรากฏขึ้น จนต้องหาทางพ้นนี้ อาศัยอวิชชา ความโง่เป็นสมุฏฐาน ฉะนั้น การที่จะหลีกเร้นจากสังขารได้ก็ต้องตัดอวิชชาความโง่ออก ด้วยการพิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้แน่นอนจึงจะพ้นสังขาร นี้ได้
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
พิจารณาหาทางที่จะให้สังขารพ้น ญาณนี้ไม่เห็นทางอธิบายชัด เพราะมีอาการ ซ้อน ๆ กันอยู่ ควรเอา ปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละเป็นเครื่องพิจารณา
๘. สังขารุเปกขาญาณ
ท่านสอนให้วางเฉย ในเมื่อสังขารภายในคือ ร่างกายของตนเองและสังขารภายนอก คือร่างกายของคน และ สัตว์ ตลอดจนของใช้ที่ไม่มีและมีวิญญาณ ที่ต้องได้รับเคราะห์กรรม มีทุกข์ มีอันตราย โดยตัดใจปลงได้ว่า ธรรมดาต้องเป็นอย่างนี้ ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ มีจิต สบายเป็นปกติ ไม่มีความหวั่นไหว เสียใจ น้อยใจเกิดขึ้น
๙. สัจจานุโลมิกญาณ
พิจารณาญาณทั้งหมดย้อนไปย้อนมาให้เห็นอริยสัจ คือเห็นว่า สังขารที่เป็นแดน ของความทุกข์ เพราะอาศัยตัณหา จึงมีทุกข์หนักอย่างนี้ พิจารณาเห็นว่า สังขารมีทุกข์ประจำ เป็นปกติ ไม่เคยว่างเว้นจากความทุกข์เลย อย่างนี้เรียกว่า เห็นทุกขสัจจะเป็นอริยสัจที่ ๑
พิจารณาเห็นว่า ทุกข์ทั้งหมดที่ได้รับเป็นประจำไม่ว่างเว้นนี้ เกิดมีขึ้นได้เพราะอาศัย ตัณหา ความทะยานอยาก ๓ ประการ คือ อยากมีในสิ่งที่ไม่เคยมี อยากเป็นในสิ่งที่ ไม่เคยเป็น อยากปฏิเสธ ในเมื่อความสลายตัวเกิดขึ้น ไม่อยากให้สลายตัว เจ้าความอยาก ทั้ง ๓ นี้แหละเป็นผู้สร้างความทุกข์ขึ้นมา ทุกข์นี้จะสิ้นไปได้ ก็เพราะเข้าถึงจุดของความดับ คือนิโรธเสียได้
จุดดับนั้นท่านวางมาตรฐานไว้ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ท่านเรียกว่า มรรค ๘ ย่อมรรค ๘ ลงเหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ เพราะอาศัยศีลบริบูรณ์ สมาธิ เป็นฌาน ปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง หมดความเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และดับอารมณ์พอใจไม่พอใจ เสียได้ ตัดอารมณ์ใจในโลกวิสัยได้ ตัดความกำหนัดยินดีเสีย ได้ด้วยปัญญาวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าเห็นในอริยสัจ ๔ ทำอย่างนี้ คิดอย่างนี้ให้คล่อง จนจิต ครอบงำความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเมาในชีวิตเสียได้ ชื่อว่าท่านได้ วิปัสสนาญาณ ๙ และอริยสัจ ๔ แต่อย่าเพ่อพอ หรือคิดว่าดีแล้ว ต้องฝึกฝนพิจารณาเรื่อยไป จนตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้แล้ว นั่นแหละชื่อว่าเอาตัวรอดได้แล้ว
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/vipassanayan.html
สมาธิเบื้องต้น (อานาปานัสสติ) สำหรับคนทั่วไปอย่างง่าย
พระธรรมเทศนาโดย พระธรรมโกศาจารย์
(ท่านเจ้าประคุณพุทธทาส อินทปัญโญ)
ในกรณีปกติให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลังจรดกันสนิทเต็มหน้าตัดของมันทุกๆ ข้อ)
๑. ศรีษะตั้งตรงตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่งจนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไร หรือไม่เห็นก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้าจะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอนได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะคนขี้ง่วงให้ทำอย่างลืมตานี้แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่มันจะต้องหลับ หรือจะหัดทำอย่างหลับตาเสียตั้งแต่ต้นก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้นจะมีผลดีกว่าหลายอย่าง แต่ว่าสำหรับบางคนรู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะพวกที่ยึดถือในการหลับตา ย่อมไม่สามารถทำอย่างลืมตาได้เลย
๒. มือปล่อยวางไว้บนตักซ้อนกันตามสบาย ขาขัดหรือซ้อนกันโดยวิธีที่จะช่วยยันน้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัดและล้มยาก ขาขัดอย่างซ้อนกันธรรมดาหรือจะขัดไขว้กันนั่นแล้วแต่จะชอบหรือทำได้ คนอ้วนจะขัดขาไขว่กันอย่างที่เรียกว่า ขัดสมาธิเพชรนั้น ทำได้ยากและไม่จำเป็น ขอแต่ให้นั่งคู้ขาเข้ามา เพื่อรับน้ำหนักตัวให้สมดุลล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิอย่างเอาจริงเอาจังยากๆ แบบต่างๆ นั้นไว้สำหรับเมื่อจะเอาจริงอย่างโยคีเถิด
๓. ในกรณีพิเศษสำหรับคนป่วยคนไม่ค่อยสบายหรือแม้แต่คนเหนื่อย จะนั่งอิงหรือนั่งเก้าอี้ หรือเก้าอี้ผ้าใบสำหรับเอนทอดเล็กน้อย หรือนอนเลยสำหรับคนเจ็บไข้ก็ทำได้ ทำในที่ไม่อับอากาศ หายใจได้สบายไม่มีอะไรกวนจนเกินไป
๔. เสียงอึกทึกที่ดังสม่ำเสมอ และไม่มีความหมายอะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงานเหล่านี้ไม่เป็นอุปสรรคเว้นแต่จะไปยึดถือว่าเป็นอุปสรรคเสียเอง เสียงที่มีความหมายต่างๆ เช่น เสียงคนพูดกันนั้น เป็นอุปสรรคแก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียงไม่ได้ ก็ให้ถือว่าไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไปก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง
๕. ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ก็สามารถรวมความนึกหรือความรู้สึก หรือเรียกาษาวัดว่า สติ ไปกำหนดจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตัวเองได้ คนที่ชอบหลับตาก็หลับตาแล้วตั้งแต่ตอนนี้ คนชอบลืมตาลืมไปได้เรื่อยๆ จนมันค่อยๆ หลับของมันเองเมื่อเป็นสมาธิมากขึ้นๆ
๖. เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในขั้นแรกหัด ให้พยายามหายใจให้ยาวที่สุดที่จะยาวได้ด้วยการฝืนทั้งเข้าและออกหลายๆ ครั้งเสียก่อนเพื่อจะได้รู้ตัวเองให้ชัดเจนว่า ลมหายใจที่มันลากเข้าออกเป็นทางอยู่ภายในนั้น มันลากถูหรือกระทบอะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่าสุดลงที่ตรงไหนที่ในท้อง โดยเอาความรู้สึกที่กระเทือนนั้นเป็นเกณฑ์พอเป็นเครื่องกำหนดส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้
๗. คนธรรมดาจะรู้สึกลมหายใจกระทบปลายจะงอยจมูก ให้ถือเอาตรงนั้นเป็นที่สุดข้างนอก ถ้าคนจมูกแฟบหน้าหัก ริมฝีปากบนเชิด ลมจะกระทบปลายริมฝีปากบนอย่างนี้ก็ให้กำหนดเอาที่ตรงนั้นว่าเป็นที่สุดท้ายข้างนอกแล้วก็จะได้จุดทั้งข้างนอกและข้างใน โดยกำหนดเอาว่าที่ปลายจมูกจุดหนึ่งที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจได้ลากตัวมันเองไปมาอยู่ระหว่างจุดสองจุดนี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ
๘. ทีนี้ทำใจของเราให้เป็นเหมือนอะไรที่คอยวิ่งตามลมนั้นไม่ยอมพรากทุกครั้งที่หายใจทั้งขึ้นและลงตลอดเวลาที่ทำสมาธินี้ จัดเป็นชั้นหนึ่งของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” กล่าวมาแล้วว่าเริ่มต้นที่เดียวให้พยายามฝืนหายใจให้ยาวที่สุดและให้แรงๆ และหยาบที่สุดหลายๆ ครั้งเพื่อให้พบจุดหัวท้าย แล้วพบเส้นที่ลากอยู่ตรงกลางๆ ให้ชัดเจน
๙. เมื่อจิตหรือสติจับหรือกำหนดตัวลมหายใจที่เข้าๆ ออกๆ ได้โดยทำความรู้สึกที่ๆ ลมมันกระทบลากไป แล้วไปสุดลงที่ตรงไหน แล้วจึงกลับเข้าหรือกลับออกก็ตามดังนี้แล้ว ก็ค่อยๆ ผ่อนให้การหายใจนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหายใจอย่างธรรมดาโดยไม่ต้องฝืน แต่สตินั้นคงกำหนดที่ลมได้ตลอดเวลาตลอดสาย เช่นเดียวกับเมื่อแกล้งหายใจหยาบแรงๆ นั้นเหมือนกัน คือกำหนดได้ตลอดสายที่ลมผ่านจากจุดข้างในคือสะดือหรือท้องส่วนล่าง ก็ตามถึงจุดข้างนอกคือปลายจมูก หรือปลายริมฝีปากบนแล้วแต่กรณี ลมหายใจจะละเอียดหรือแผ่วลงอย่างไร สติก็คงกำหนดได้ชัดเจนอยู่เสมอไปโดยให้การกำหนดนั้นละเอียดเข้าตามส่วน
๑๐. ถ้าเผอิญเป็นว่าเกิดกำหนดไม่ได้เพราะลมจะละเอียดเกินไปก็ให้ตั้งต้นหายใจให้หยาบหรือแรงกันใหม่ แม้จะไม่เท่าทีแรกก็เอาพอให้กำหนดได้ชัดเจนก็แล้วกัน กำหนดกันไปใหม่จนให้มีสติรู้สึกอยู่ที่ลมหายใจไม่มีขาดตอนให้จนได้ คือจนกระทั่งกายใจอยู่ตามธรรมดาไม่มีฝืนอะไรก็กำหนดได้ตลอดมันยาวหรือสั้นแค่ไหนก็รู้ มันหนักหรือเบาเพียงไหนก็รู้พร้อมอยู่ในนั้น เพราะสติเพียงแต่คอยเกาะแจอยู่ติดตามไปมาอยู่กับลมตลอดเวลา ทำได้อย่างนี้เรียกว่าทำการบริกรรมในขั้น “วิ่งตามไปกับลม” ได้สำเร็จ
๑๑. การทำไม่สำเร็จนั้น คือสติ หรือความนึกไม่อยู่กับลมตลอดเวลา เผลอเมื่อไรก็ไม่รู้ มารู้เมื่อมันไปแล้ว และก็ไม่รู้ว่ามันไปเมื่อไร โดยอาการอย่างไรเป็นต้น พอรู้ก็จับตัวมันมาใหม่และฝึกกันไปกว่าจะได้ในขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อยแล้วจึงค่อยฝึกขั้นต่อไป
๑๒. ขั้นต่อไป ซึ่งเรียกว่า บริกรรมขั้นที่สอง หรือขั้น “ดักดูอยู่แต่ตรงที่แห่งใดแห่งหนึ่ง” นั้นจะทำต่อเมื่อทำขั้นแรกข้างต้นได้แล้วเป็นดีที่สุด หรือใครจะสามารถข้ามมาทำขั้นที่สองนี้ได้เลย ก็ไม่ว่า ในขั้นนี้จะให้สติ หรือความนึกคอยดักกำหนดอยู่ตรงที่ใดแห่งหนึ่ง โดยเลิกการวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึกเมื่อลมหายใจเข้าไปถึงที่สุดข้างใน คือสะดือครั้งหนึ่งแล้วปล่อยวางหรือวางเฉย แล้วกำหนดรู้สึกกันเมื่อลมออกมากระทบที่สุดข้างนอกคือปลายจมูกอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ปล่อยว่างหรือวางเฉย จนมีการกระทบส่วนสุดข้างในคือสะดืออีก ทำนองนี้เรื่อยไปไม่มีการเปลี่ยนแปลง
๑๓. เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยวาง หรือวางเฉยนั้นจิตก็ไม่ได้หนีไปอยู่บ้านช่องไร่นาหรือที่ไหนเลยเหมือนกัน แปลว่าสติคอยกำหนดที่ส่วนสุดข้างในหนึ่งข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้นปล่อยเงียบหรือว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนดข้างในเสีย คงกำหนดแต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูกแห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนดอยู่แต่ที่จะงอยจมูกไม่ว่าลมจะกระทบเมื่อหายใจเข้าหรือเมื่อหายใจออกก็ตาม ให้กำหนดรู้ทุกครั้ง สมมติเรียกว่าเฝ้าแต่ตรงที่ปากประตู ให้มีความรู้สึกครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่านออกนั้นว่าง หรือเงียบ ระยะกลางที่ว่างหรือเงียบนั้นจิตไม่ได้หนีไปอยู่ที่บ้านช่องหรือที่ไหนอีกเหมือนกัน
๑๔. ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ทำบริกรรมในชั้น “ดักอยู่แต่ในที่แห่งหนึ่ง” นั้นได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จก็ตรงที่จิตหนีไปเสียเมื่อไรก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไปในประตูหรือเข้าประตูแล้วลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่างหรือเงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้องและทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้นของขั้นนี้ เพราะฉะนั้นควรให้ดีหนักแน่นและแม่นยำมาตั้งแต่ขั้นแรก คือขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” นั้นทีเดียว
๑๕. แม้ขั้นต้นที่สุดหรือที่เรียกว่าขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่ายสำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ก็มีผลเกินคาดมาแล้วทั้งกายและใจ จึงควารทำให้ได้และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่นอย่างการปริหารกายมีเวลาสองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจให้แรงจนกระดูกลั่นก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีดหรืออซูดซาดก็ได้ แล้วค่อยผ่อนให้เบาไปๆ จนเข้าระดับปกติของมัน
๑๖. ตามธรรมดาที่คนเราหายใจอยู่นั้นไม่ใช่ระดับปกติ แต่ว่าต่ำกว่า หรือน้อยกว่าปกติโดยไม่รู้สึกตัวโดยเฉพาะเมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรืออยู่ในอิริยาบถที่ไม่เป็นอิสระนั้นลมหายใจของตัวเองอยู่ในลักษณะที่ต่ำกว่าปกติที่ควรจะเป็นทั้งที่ตนเองไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้นจึงให้เริ่มด้วยหายใจอย่างรุนแรงเสียก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยให้เป็นไปตามปกติ อย่างนี้จะได้ลมหายใจที่เป็นสายกลางหรือพอดี และทำร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติด้วยเหมาะสำหรับจะกำหนดเป็นนิมิตรของอานาปานัสสติในขั้นต้นนี้ด้วย
๑๗. ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าการบริกรรมขั้นต้นที่สุดนี้ขอให้ทำจนเป็นของเล่นปกติสำหรับทุกคนและทุกโอกาสเถิด จะมีประโยชน์ในส่วนสุขภาพทั้งทางกายและใจอย่างยิ่ง แล้วจะเป็นบันไดสำหรับขั้นสองต่อไปอีกด้วย แท้จริง ความแตกต่างกันในระหว่างขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” กับ “ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ” นั้นมีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่เป็นการผ่อนให้ประณีตเข้า คือมีระยะการกำหนดด้วยสติน้อยเข้าแต่คงมีผล คือจิตหนีไปไม่ได้เท่ากัน
๑๘. เพื่อให้เข้าใจง่ายจะเปรียบกับพี่เลี้ยงไกวเปลเด็กอยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรกก็จับเด็กใส่ลงในเปลแล้วเด็กยังไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้นหรือลุกออกจากเปลในขั้นนี้พี่เลี้ยงจะต้องคอยจับตาดูแหงนหน้าไปมาดูเปลไม่ให้วางตาได้ ซ้ายทีขวาทีอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้เด็กมีโอกาสตกมาจากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอน คือไม่ค่อยจะดิ้นรนแล้วพี่เลี้ยงก็หมดความจำเป็นที่จะต้องแหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาทีตามระยะที่เปลไกวไปไกวมา พี่เลี้ยงคงเพียงแต่มองเด็กเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนเท่านั้นก็พอแล้ว มองแต่เพียงครั้งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกวไปมาตรงหน้าตนพอดี เด็กก็ไม่มีโอกาสลงจากเปลเหมือนกันเพราะเด็กชักจะยอมนอนขึ้นมา ดังกล่าวแล้ว
๑๙. ระยะแรกของการบริกรรมกำหนดลมหายใจในขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” นี้ก็เปรียบกันได้กับระยะที่พี่เลี้ยงต้องคอยส่ายหน้าไปมาตามเปลที่ไกวไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สองกำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูกที่เรียกว่า ขั้น “ดักอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง” นั้นก็คือขั้นที่เด็กชักจะง่วงและยอมนอนจนพี่เลี้ยงจับตาดูเฉพาะเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนนั่นเอง
๒๐. เมื่อฝึกหัดมาได้ขั้นที่สองนี้อย่างเต็มที่ก็อาจฝึกต่อไปถึงขั้นที่ผ่อนระยะการกำหนดของสติให้ประณีตเข้าๆ จนเกิดสมาธิชนิดแน่วแน่เป็นลำดับ ไปจนถึงเป็นฌาณขั้นใดขั้นหนึ่งได้ซึ่งพ้นไปจากสมาธิอย่างง่ายๆ ในขั้นต้นๆ สำหรับคนธรรมดาทั่วไปและไม่สามารถนำมากล่าวรวมกันไว้ในที่นี้เพราะ เป็นเรื่องละเอียดรัดกุม มีหลักเกณฑ์ซับซ้อนต้องศึกษากันเฉพาะผู้สนใจถึงขั้นนั้น ในขณะนี้เพียงแต่ขอให้สนใจในขั้นมูลฐานกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นของเคยชินเป็นธรรมดาอันอาจจะตะล่อมเข้าเป็นขั้นสูงขึ้นไปตามลำดับในภายหลัง
สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้พบ ขอให้ฆารวาสทั่วไปได้มีโอกาสทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำประโยชน์ทั้งกายและใจสมความต้องการในขั้นต้นเสียขั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่ามีศีล สมาธิ ปัญญา ครบสามประการ หรือมีความเป็นผู้ประกอบตนอยู่ในมรรคมีองค์แปดประการได้ครบถ้วน แม้ในขั้นตน ก็ยังดีกว่าไม่มีเป็นไหนๆ กายจะระงับลงไปกว่าที่เป็นอยู่ตามปกติก็ด้วยการฝึกสมาธิสูงขั้นไปตามลำดับๆ เท่านั้น และจะได้พบ “สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้พบ” อีกสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้ไม่เสียทีที่เกิดมา
ท่านที่สนใจฝึกสมาธิขั้นสูงขึ้นไป ขอให้อ่านหนังสือเรื่องอานาปานัสสติสมบูรณ์แบบ อันเป็นวิธีการฝึกสมาธิที่เหมาะอย่างยิ่งกับวิธีการนี้
คัดลอกจากหนังสือ สมาธิเบื้องต้น (อานาปานัสสติ)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8615
วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ความหมายของวิปัสสนา
วิปัสสนาภาวนา
วิ ( วิเศษ , แจ้ง ฯ. ) + ปสฺสนา ( เห็น ) + ภาวนา ( การอบรม , การเจริญ )
การอบรมเพื่อความเห็นแจ้ง , การเจริญปัญญาเพื่อเห็นอย่างวิเศษ หมายถึง
การเจริญปัญญาเพื่อเห็นแจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงตามลำดับขั้น จากขั้นต้น
คือ การอบรมสติปัฏฐาน เป็นการเจริญวิปัสสนาเพื่อเห็นแจ้งลักษณะของนามธรรมและ
รูปธรรม จนสติปัฏฐานถึงความสมบูรณ์ วิปัสสนาญานซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นพร้อม
กับมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ จึงเกิดขึ้นเห็นสภาพธรรมอย่างวิเศษ คือประจักษ์แจ้ง
ไตรลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับขั้น
ของปัญญาที่เจริญยิ่งขึ้น ตั้งแต่วิปัสสนาญาณที่ ๑ ( นามรูปปริจเฉทญาณ ) จนถึง
วิปัสสนาญาณที่ ๑๒ ( อนุโลมญาณ ) จะมีสังขารคือนามธรรมและรูปธรรมเป็นอารมณ์
วิปัสสนาญาณที่ ๑๓ ( โคตรภูญาณ ) วิปัสสนาญาณที่ ๑๔ ( มรรคญาณ ) วิปัสสนา
ญาณที่ ๑๕ ( ผลญาณ ) มีวิสังขารคือพระนิพพานเป็นอารมณ์ วิปัสสนาญาณที่ ๑๖
( ปัจจเวกขณญาณ ) มีมรรคจิต ผลจิต พระนิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลือ
อยู่ เป็นอารมณ์
ที่มา http://www.dhammahome.com/webboard/topic/9336
วิ ( วิเศษ , แจ้ง ฯ. ) + ปสฺสนา ( เห็น ) + ภาวนา ( การอบรม , การเจริญ )
การอบรมเพื่อความเห็นแจ้ง , การเจริญปัญญาเพื่อเห็นอย่างวิเศษ หมายถึง
การเจริญปัญญาเพื่อเห็นแจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงตามลำดับขั้น จากขั้นต้น
คือ การอบรมสติปัฏฐาน เป็นการเจริญวิปัสสนาเพื่อเห็นแจ้งลักษณะของนามธรรมและ
รูปธรรม จนสติปัฏฐานถึงความสมบูรณ์ วิปัสสนาญานซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดขึ้นพร้อม
กับมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ จึงเกิดขึ้นเห็นสภาพธรรมอย่างวิเศษ คือประจักษ์แจ้ง
ไตรลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นเป็นไปตามลำดับขั้น
ของปัญญาที่เจริญยิ่งขึ้น ตั้งแต่วิปัสสนาญาณที่ ๑ ( นามรูปปริจเฉทญาณ ) จนถึง
วิปัสสนาญาณที่ ๑๒ ( อนุโลมญาณ ) จะมีสังขารคือนามธรรมและรูปธรรมเป็นอารมณ์
วิปัสสนาญาณที่ ๑๓ ( โคตรภูญาณ ) วิปัสสนาญาณที่ ๑๔ ( มรรคญาณ ) วิปัสสนา
ญาณที่ ๑๕ ( ผลญาณ ) มีวิสังขารคือพระนิพพานเป็นอารมณ์ วิปัสสนาญาณที่ ๑๖
( ปัจจเวกขณญาณ ) มีมรรคจิต ผลจิต พระนิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลือ
อยู่ เป็นอารมณ์
ที่มา http://www.dhammahome.com/webboard/topic/9336
พุทธทำนาย
มีสิ่ง ๆ หนึ่งที่ทุกชีวิตรอคอย เรียกร้องต้องการแต่สิ่งนี้ไม่เคยมีใครหรือสังคมใดประสบเลย สิ่งนั้นก็คือ “สันติสุข” และ “สันติภาพ” นั่นเอง
“สันติสุข” คือ ความสุขส่วนบุคคล (เอกพจน์)“สันติภาพ” คือ ความสุขของคนทุกคน (พหูพจน์)
ทุกคนต้องการ “สันติสุข” แต่ทุกคนกำลังสร้างวิกฤตการณ์เต็มบ้านเต็มเมือง โดยต้องการกินดี-อยู่ดี ยิ่งจัดยิ่งหาให้มีมากเท่าไร ก็เท่ากับเร่งทำลาย “ศีลธรรม” หรือ “สันติภาพเท่านั้น เพราะชีวิตที่มีคุณภาพ คือ ชีวิตที่มีคุณธรรม การกินเกิน อยู่เกินทำให้ชีวิตหมดคุณค่า
จากการอ่านหนังสือพระไตรปิฎก ชาดก คาถา เล่มที่ 2 หน้าที่ 146-163 เรื่อง “พุทธทำนาย” และได้ฟังเทปของผู้เฒ่าซึ่งได้ล่วงลับไปแล้ว โดยที่ท่านไม่รู้หนังสือเลย เรื่อง “ทำนายปัตถเวน” มาประมวลเขียนเป็นหนังสือเล่มที่ท่านถืออยู่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ท่านเมตตาให้การอบรม และบรรยายให้ฟังหลายครั้ง โดยที่ไม่ได้ว่าเอาเอง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเอาไว้ว่า ถ้าโลกนี้มี “ศีลธรรม” โลกจะไม่เป็นอย่างนี้ แต่ถ้าไม่มี “ศีลธรรม” เมื่อใด ก็จะเป็นอย่าง “พุทธทำนาย” แน่นอน
การกินอยู่แต่พอดีเป็นการมี “ศีลธรรม” การกินเกิน - อยู่เกินยิ่งทำลาย “ศีลธรรม” เหมือนเราจะเอาภาพขวานไปตัดฟืน, มีรายการอาหารเต็มไปหมดก็ไม่อาจทำให้ท้องอิ่มได้ หรือบ้านที่มีแต่แปลน จะอยู่อาศัยได้อย่างไร ?
บัดนี้ “ศีลธรรม” หรือ “ธรรมะ” จะมีหรือไม่, ท่านต้องการ “ธรรมะ” หรือ “ศีลธรรม” หรือไม่ รายละเอียดในเล่มนี้เป็นสิ่งที่จะช่วยท่านได้
คนเรียนธรรมะ แต่ไม่รู้ธรรมะ ก็มี
คนรู้ธรรมะ แต่ไม่มีธรรม ะ ก็มี
คนมีธรรมะ แต่ก็แก้ปัญหาอะไรไม่ได้ ก็มี
……เราจัดอยู่ในพวกไหน ?
หวังว่าจะทำให้ท่าน “แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้โดยใช้ธรรมะที่แก้ปัญหาได้” ขอให้ทุกคนทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้องทุกขั้นตอนทั้งโดยส่วนตัว และส่วนรวม “สันติสุข” และ “สันติภาพ” ก็เป็นสิ่งที่เราจะหวังให้เกิดขึ้นได้
เพราะความเจริญสมัยใหม่ แย่งปากไปพูด แย่งปากกาแย่งหน้ากระดาษไปเขียนเรื่องอื่น ๆ เสียหมด โดยเฉพาะเรื่องกามารมณ์ การเมือง แต่เรื่องศีลธรรมที่เราต้องการให้มีในใจคนกลับไม่มีใครพูดถึงเขียนถัง
ตามคัมภีร์โบราณบรรยายไว้ว่า โลกเรานี้บางยุคก็เจริญ บางยุคก็เกิดมิคสัญญี บางยุคก็เป็นพระศรีอาริย์ แต่โลกในขณะนี้กำลังเป็นมิคสัญญี เพราะศีลธรรมกำลังเสื่อมลง ๆ จนแทบจะไม่มีเหลืออยู่แล้วหรือจะมีก็เหลือน้อยเต็มที แต่หลาย ๆ คนก็ไม่เชื่อ เพราะเคยได้ยินแต่คำว่า “ โลกกำลังเจริญก้าวหน้า” เรียกกันอย่างไพเราะว่า “อารยธรรมเจริญ” แต่ความเป็นจริงภายใต้ชื่อที่ไพเราะนี้กำลังฆ่าคน จนน่าจะเรียกว่า “อารยธรรมฆ่าคน” มากกว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางยุ่งยากจนราวกับว่าเราต้องอยู่รวมกับคนบ้า คือ คนที่พูดกันไม่รู้เรื่อง ดังนั้นอย่าว่าแต่ปัญหาคอมมิวนิสต์ ปัญหาแบ่งแยกดินแดนเลย แม้แต่ปัญหาครอบครัว ปัญหาในโรงเรียน ในโรงงาน ซึ่งเป็นปัญหาของคนกลุ่มน้อยและซับซ้อนกว่าก็ยังแก้ไม่ได้ พ่อแม่กับลูก ครูกับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ต่างพูดกันไม่รู้เรื่อง โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปตรงกับพุทธพจน์ ที่ว่า “ยถา ปจฺจยปวตฺตมานา ฯลฯ” เปลี่ยนแปลงตามเหตุตามปัจจัยเรียกว่า “สังขาร” เหตุเลว -เลว, เหตุดี - ดี ลองสังเกตดูให้ดี ๆ จะเห็นโลกกำลังก้าวหน้าไปสู่ไร้ศีลธรรมในนามของความเจริญซึ่งมันน่าหัวเราะ น่าหัวเราะจนไม่รู้ว่าจะเอาปากที่ไหนมาหัวเราะ
ปัจจุบันเราพูดกันว่า “เราเจริญ ๆ การศึกษาเจริญ การอนามัยเจริญ เศรษฐกิจเจริญ การเมืองเจริญ” แต่มันเจริญไปสู่ความวินาศ เพราะยิ่งเจริญยิ่งไร้ศีลธรรม ถ้าคนไร้ศีลธรรมคนกลายเป็นผี ถ้าศีลธรรมมี ผีกลายเป็นคน
ประเทศเรากำลังจมอยู่สู่หายนะ โดยเฉพาะทางจิตวิญญาน เด็กๆกำลังเฟ้อ “ประชาธิปไตย”
จนลืม “ศีลธรรม” มีอาการที่เรียกว่า “เห็นกงจักรเป็นดอกบัว” เดี๋ยวนี้เรากำลังเห็นกงจักรเป็นดอกบัว จึงพูดกันไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าจะเอา “เศรษฐกิจ” หรือเอา “ศีลธรรม”, จะเอา “ เงิน” หรือ “สวรรค์” จะเอา “เกียรติ” หรือเอา “นิพพาน” จะเอา “ระบบซี” หรือ “ระบบขั้น” ไม่เข้าใจเรื่องนรกสวรรค์เรื่องดีชั่ว
คนส่วนใหญ่พูดกันแต่ว่า เราต้องต่อสู้เพื่อมีชีวิตรอด ซึ่งความจริงมันรอดกันแล้วทุกคน เพียงแต่มันยุ่ง มันเดือดร้อน ส่วนการทำอย่างไรถึงจะไม่เป็นทุกข์นั้น เราไม่คิดกัน ผลที่เกิดในเวลานี้ คือ มนุษย์กำลังก้าวไปสู่ความวินาศ ในนามอันไพเราะว่า “ ความเจริญ”
มูลเหตุที่มี 2 จำพวกคือ ปัจจัยโดยตรงและ ปัจจัยโดยอ้อม
ปัจจัยโดยตรง
การศึกษาผิดๆ เดี๋ยวนี้การศึกษาใด ถ้าทำให้เกิดสันติสุข สันติภาพก็ถูก ต้องให้มีประโยชน์ทั้งตัวเขาและสังคม แต่ปัจจุบันเขาสอนให้เห็นกงจักรเป็นดอกบัว สอนให้อ่านออกเขียนได้ เพื่อประกอบอาชีพ ไม่ได้สอนให้เกิดความสันติสุขโดยส่วนตัว สันติภาพโดยส่วนรวม ตามภาษาบาลีว่า เป็นทาสของอายตนะยิ่งขึ้น ชาวบ้านเรียกว่าเป็นทาสอารมณ์เพราะในการศึกษาไม่มีเรื่องพระธรรมเลย สอนแต่เพื่อเป็นอาชีพ เพื่อเป็นอายตนะ สอนเพื่อให้เกลียดศาสนายิ่งขึ้น
วัฒนธรรมเปลี่ยนไปในทางที่เป็นอันตราย เปลี่ยนจากวัฒนธรรมเย็นเป็นวัฒนธรรมร้อน เพลงไทยทีมีท่วงทำนองเย็น ๆ ฟังแล้วเกิดความเย็นไม่เอา ต้องไปรำไปร้องอย่างร้อน ๆ เหมือนลิงเมาเหล้า หรือไส้เดือนถูกขี้เถ้า โดยเฉพาะวัฒนธรรมประจำบ้านเรือนที่เรียกว่า “วัฒนธรรมโดยสายเลือด” คนแก่คนเฒ่าผู้สูงอายุ 60-70 ปีขึ้นไป จะเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้มากน้อยอย่างไร โดยเฉพาะกิริยามารยาท ความเชื่อถือ ทั้งที่เคยเย็น เคยหวังความสงบก็เปลี่ยนไปสู่ความร้อนก็เท่ากับเห็นกงจักรเป็นดอกบัว การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม โดยสายเลือดในลักษณะนี้เป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ขอฝากไว้ด้วย
อารยธรรมทางวัตถุกำลังชนะ เนื้อหนังกำลังชนะจิตใจ การใช้คำว่า “อารยธรรม” นั้นน่าเศร้าที่สุด เพราะมันโกหกที่สุด “อารยะ” แปลว่า ประเสริฐ อย่างของพระอริยเจ้า แต่เอามาใช้กับอารยธรรมที่ทำลายมนุษย์ อารยธรรมฆ่าคน อารยธรรมสมัยใหม่ที่ยั่วกิเลสคน ทั้งทางหู ตา จมูก ปาก สัมผัส อารยธรรมทางเนื้อหนังกำลังอาละวาด มีกำลังกล้าแข็ง ส่วนอารยธรรมทางจิตกำลังแพ้ ถดถอย เป็นจังหวะที่อารยธรรมทางวัตถุ กำลังอาละวาด เหมือนโรคร้ายกำลังระบาด ผูกใจคนได้มาก เพราะคนชอบซื้อหามาไว้ ใช้สอยอย่างโง่เขลา ชอบใช้สอยในสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่มันไม่ใช่เรื่องร้ายแรงเหมือนกับที่ให้คนสูญเสีย สติสมปฤดีโดยเฉพาะของใหม่ ๆ เราแก้ได้โดยไม่ใช้
ของที่ไม่จำเป็น บางทีเข้าร้านใหญ่ ๆ จะซื้อของแต่ซื้อไม่ได้เลย เพราะไม่จำเป็นสำหรับเรา มันมีไว้สำหรับคนบ้า ในซุปเปอร์มาร์เกต อุบาสก อุบาสิกาอดซื้อไม่ได้ โดยเฉพาะสิ่งที่ประดิษฐ์
ใหม่ ๆ คนกำลังหลง นี่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้คนไร้ศีลธรรม
สรุปทบทวนอีกครั้ง
1. การศึกษาผิด การศึกษาเพื่อความรู้ เพื่อประกอบอาชีพ ประกอบอาชีพเพื่อเป็นทาส
อายตนะ เพื่ออบายมุข เพื่อเกลียดศาสนา
2. วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะวัฒนธรรมโดยสายเลือด ที่เคยชอบธรรมะ ชอบ
ศาสนาเปลี่ยนไป เพราะอารยธรรมทางวัตถุกำลังครอบคลุมอยู่ มันกำลังพุ่งเป็นจังหวะของมันโดยเฉพาะในวัยรุ่น
ปัจจัยโดยอ้อม
1. ประชากรเพิ่ม เพิ่มไม่ได้มีสัดส่วนกับการมีธรรมะของคน ธรรมะน้อยคนมาก ถ้าเพิ่มคน ธรรมะเพิ่มตามก็ไม่มีปัญหา แต่คนเพิ่ม ธรรมะกลับลดลงจะมีปัญหา จึงต้องคุมกำเนิด เมื่อมีคนมาก ความเลวร้ายจึงเกิดขึ้น พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เมื่อคณะสงฆ์เป็นปึกแผ่น อุปัททวะก็มี
“อุปัททวะ” คือความไร้ศีลธรรมนั่นเอง เพราะศีลธรรมไม่พอ คนจึงเห็นแก่ตัวกันมาก
2. ไม่มีการศึกษาอบรมตามทางธรรม แต่เป็นไปในทางเนื้อหนังหมด ให้การศึกษาอย่างเดียวไม่พอ ต้องอบรมธรรมะด้วย เดี๋ยวนี้ไม่มีการอบรมในทางธรรมะ โดยเฉพาะการสอนลูกให้เป็นคนดีนั้นไม่พอ ต้องฝึกให้เขาประพฤติอย่างนั้นด้วย ควรให้การศึกษาถึงขั้นฝึก (train) ไม่ใช่แค่สอน (teach) บอกเด็กให้ช่วยเหลือผู้อื่น บอกแต่ปากไม่พอ ต้องให้เด็กกระทำด้วย เช่น ให้เงินกินขนมวันละ ๑๐ บาท ต้องให้เขาแบ่งให้เพื่อนที่ไม่มีจะกิน ๑ บาท กินเอง ๙ บาท เพื่อนที่ไม่มีเลยจะได้มีบ้าง นี่เป็นตัวอย่างเล็กน้อย ตัวอย่างอื่นยังมีอีกมาก “ถ้าไม่ฝึกอบรมก็เสื่อมศีลธรรม”
คนส่วนใหญ่มักอ้างว่าเวลาไม่พอ สอนแต่ทางโลก ๆ และทางอาชีพก็หมดเวลาพอดี จึงไม่มีเวลาสำหรับสอนศาสนา แต่เท่าที่สังเกตดู เมื่อกลับมาบ้านเขามีเวลาว่าง ก็ไม่ให้ศึกษาธรรมะ คงเห็นว่าไม่จำเป็น กลัวจะเสียเปรียบ ล้าหลังถือกันเช่นนี้ จนยอมตัวเป็นผู้ไม่มีศาสนา ยอมตัวและภูมิใจถือความต้องการเป็นศาสนา เมื่อไม่ศึกษาธรรมะ คนก็มีจิตใจที่ไม่ประกอบด้วยธรรม
3. กรรมพันธ์ทางวิญญานเลวลงตามสัดส่วน คือ การถ่ายทอดจากบิดามารดา ถ้ารูปร่างหน้าตาเหมือนพ่อแม่ จิตใจเหมือนพ่อแม่ ปัจจุบันการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ดีขึ้น คือ เด็ก ๆ สวยขึ้น แต่ถ่ายทอดแต่เนื้อหนัง เพราะพ่อแม่เห็นแก่ความสวยงาม ฝันแต่ความสวยความงาม เด็ก ๆ จึงสวยขึ้น แต่ทางวิญญาณเลวลง ถ้าเห็นแก่สวยก็คือ “เห็นแก่ตัว” คนชอบทำอะไรที่สวย ที่สะดวก ที่รวย ที่ตื้น ๆ แต่ทำลายคุณธรรมที่ลึกซึ้ง นี่เป็นเพราะกรรมพันธุ์เลวลง
4. โรคประชาธิปไตยกำลังระบาด เป็นบ้า เฟ้อไม่รู้ว่าแท้จริงคืออะไร หรือควรเป็นอย่างไร ไม่รู้จักคอมมิวนิสต์ แต่จะไปปราบคอมมิวนิสต์ เราขอเรียกว่า “ประชาธิปไตยบ้า” คือไม่มีสูงไม่มีต่ำ ถ้าไม่เรียกว่าประชาธิปไตยบ้า แล้วจะเรียกว่าอะไรดี คือไม่มีใครสูง ไม่มีใครต่ำ พ่อ แม่ ลูก แม้กระทั่งครูบาอาจารย์หรือผู้บังคับบัญชา บางคนตรงเข้าไปล้วงย่ามพระเอาบุหรี่ไปสูบโดยไม่ขอก็ยังมี การเรียกชื่อก็เหมือนกัน เรียก “ไอ้” อะไรอย่างหนึ่ง เขียนการ์ตูนล้อไม่มีที่สูงที่ต่ำ มีแต่ขึ้นบนหัวผู้อื่น ต้องอิสระนานาแบบ อิสระด้วยกิเลส เรียกว่าฮิปปี้นานาแบบ เพราะประชาธิปไตยเฟ้อ
(พฤติกรรมทั้งหมดนี้คือ อนาธิปไตย ANARCHY นั่นเอง )
น่าสงสารจนไม่รู้ว่าจะใช้การปกครองกันอย่างไร ให้การศึกษากันแต่ว่า เราต้องเสมอภาคกันทุกคน ต้องใช้ระบบที่ทำให้ทุกคนเสมอกัน จึงต้องพูดอย่างที่เขาพูดกัน ไม่ใช่พูดคนแรกว่า ระบบประชาธิปไตยคือระบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุดในบรรดาการปกครองทั้งหลายของมนุษย์ ที่มีกิเลส ระบบที่ดีก็ไม่รู้จะหาที่ไหน สังคมจะเป็นอย่างไรอยู่ที่คนมีศีลธรรมหรือไร้ศีลธรรม ปัจจุบันไม่มีเชษฐาปจายิกธรรม คือ ไม่มีสูงต่ำ ไม่มีการเคารพนับถือ การเคารพคนที่เจริญกว่าสูงกว่า ดีกว่า สูงกว่าด้วยคุณวุฒิ วัยวุฒิ เรียกว่า เชษฐาปจายิกธรรม แต่ประชาธิปไตยที่พูดกันในเวลานี้กำลังทำลายสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เป็นประชาธิปไตยของคนที่ไม่มีธรรม (อนาธิปไตย) ก็ต้องจำใจจำกลืนไปพลาง ๆ ก่อน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง นี่แหละที่ปัจจัยที่ไร้ศีลธรรม
จะชี้ความแปลกประหลาดอีกแง่หนึ่ง มันน่าสงสัยที่สุดว่าทำไม ยิ่งฉลาดในทางที่ไม่ควรฉลาด ตัวเองและผู้อื่นมันฉลาด ฉลาดทำตัวเองและสังคมที่สันติสุขกลับไม่ฉลาด ขอให้สังเกตดู ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย น่าสังเวชที่มีทุกอย่างล้วนแต่ทำให้เราเป็นทุกข์ แต่สิ่งที่ป้องกันไม่ให้เราเป็นทุกข์กลับไม่มี เรามีทุก ๆ อย่างทุกประการเหลือคณานับ แต่ขาดอยู่อย่างเดียวคือ “ขาดสิ่งที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ เพราะสิ่งที่เรามี” อันนี้หมายถึงส่วนรวมไม่ใช่หมายถึงทุกคน ยิ่งรวยมาก ทุกข์มาก เพราะขาดเครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ อย่าให้เป็นทุกข์เพราะสิ่งที่เรามี นี่มันน่าสังเวชดังนี้ น่าจะละอายที่สุด คือมีสันติภาพน้อยกว่าสัตว์ คน (ไม่ใช่มนุษย์) มีความสงบสุข มีความเป็นธรรม มีสันติภาพมากกว่า “ คนกลางคืนอัดฟัน กลางวันเป็นไฟ” ของสัตว์เดรัจฉานไม่มี สัตว์มีสันติภาพมากกว่าคน มันน่าละอาย
น่าอัศจรรย์ คือ โลกสมัยปัจจุบันกำลังเปลี่ยนไปตรงกับคำทำนายเมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว ดังได้นำมารวบรวมไว้ในหนังสือที่ท่านถืออยู่นี้
พุทธทำนาย
(ทำนายปัทถเวน)เรื่องนี้มีอยู่ ในพระบาลีเอกนิบาตวัณณนา ภาค ๒ เล่ม ๒๗ หน้า ๒๔ ในคำอธิบาย อรรถกถาของพระบาลีอรรถคาถา ในเล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๔๖-๑๖๓ ว่า ………
เรื่องน่าอัศจรรย์ คือโลกในสมัยปัจจุบันไปตรงกับคำทำนาย หรือคำอธิบายของพระพุทธองค์เมื่อกว่า ๒๕๐๐ ปีมาแล้ว เรื่องนี้มีตามหัวข้อ ในพระไตรปิฎกความว่า “อุสภา รุกฺขา คาวิโย ควา จ , อสฺโส กํโส สิคาลี จ , กุมฺโพ โปกฺขรณี จ, อปากํ จนฺทนํ ลาวูนิสีทนฺติ สิลาปลวนฺติ , มณฺฑูกิโย กณฺหสปฺเปติคิลนฺติ, กากํสุวณฺณา ปริวารยนฺติ ตสาวกา เอลกานํ ภายนฺติ , วิปริยาโย วตฺตติ นยิรมตฺถิ …
มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าปัทเสนธิโกศลทรงสุบินไป ๑๖ เรื่อง ล้วนเป็นฝันร้ายทั้งสิ้น ตื่นบรรทมขึ้นขึ้นมาทรงตกใจกลัว ทรงถามพวกพราหมณ์ พราหมณ์ ทูลให้ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ บูชายัญ เพราะเป็นเรื่องร้ายสำหรับราชสมบัติและชีวิตของพระองค์เอง พระเจ้าปัทเสนธิโกศลทรงเชื่อ จึงสั่งให้จัดพิธีสะเดาะเคราะห์ บูชายัญ โดยสั่งให้เตรียมคนและสัตว์มาฆ่าบูชายัญ
พระมเหสีมัลลิกาทูลทัดทานพระเจ้าแผ่นดินว่า ในฐานะที่เราเป็นพุทธบริษัท ควรไปทูลถามพระพุทธเจ้าก่อน พระเจ้าแผ่นดินก็ไปทูลถามพระพุทธเจ้า และเล่าความฝันนั้นทั้งหมด
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ฝันนั้นมิได้เป็นเรื่องร้ายเกี่ยวกับพระราชบัลลังก์และชีวิตของพระองค์ แต่เป็นเรื่องที่จะเกิดในอนาคตข้างหน้า ซึ่งหมายถึงปัจจุบันนี้นั่นเอง
เรามาดูกันว่าความฝันทั้ง ๑๖ เรื่องนั้นว่าอย่างไร ตรงกับเหตุการณ์ปัจจุบันหรือไม่ ขอสรุปว่า ความฝันทั้งหมดเกิดขึ้นเนื่องจากความเสื่อมของศีลธรรมซึ่งมาตรงกับสมัยนี้พอดี
ความฝันที่ 1
“อุสภา” บาลีแปลว่า โคอุสภ ในฝันเห็นว่า โคอุสภ คือ วัวสีดำทมึน ๔ ตัว วิ่งมาจากทิศทั้ง ๔ วิ่งคำรามใส่กันเหมือนฟ้าจะถล่ม เหมือนกับจะชนกัน แต่แล้วก็ไม่ชน คนที่เฝ้าดูก็คอยเก้อ
พระพุทธเจ้าทรงอธิบายความฝันข้อนี้ว่า เปรียบเหมือนฝนตั้งเค้ามืดครึ้มมาทั้ง ๔ ทิศ แต่แล้วก็ไม่ตก อาจหมายถึงการที่คนไปทำลายดุลย์ธรรมชาติต่าง ๆ จนทำให้ฝนไม่ตกก็ได้ แต่สำหรับสมัยนี้แล้ว ความฝันนี้อาจหมายถึง การที่ไม่อาจใช้อำนาจ คำสั่งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ บังคับคนให้เป็นระเบียบได้ กฏเกณฑ์ต่างๆไม่มีใครปฏิบัติตาม แม้แต่กฎหมายก็เป็นเพียงกระดาษ ไม่มีความหมายอะไร
หากจะตีความในแง่การเมือง โดยดูที่ประเทศอินเดีย อันเป็นที่เกิดเรื่องนี้เป็นศูนย์กลาง จะเห็นว่า ๔ ทิศรอบอินเดีย ได้แก่
จีนแดง ทางทิศตะวันออก
รัสเซีย ทางทิศเหนือ
อเมริกา ทางทิศตะวันตก
กลุ่มประเทศในโลกที่ ๓ ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ทางทิศใต้
๔ ทิศเปรียบได้กับวัว ๔ ตัว ในความฝันนั้น เราจะเห็นว่าประเทศทั้ง ๔ ทิศรอบอินเดีย กำลังจ้องจะประกาศสงครามกัน แต่ก็ยังไม่กล้า เพราะต่างฝ่ายต่างก็มีอาวุธร้ายแรง เช่น ปรมาณู หรือนิวเคลียร์ด้วยกันทั้งนั้น
สำหรับในประเทศไทย การกล่าวคำปฏิญาณตนต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของเด็กนักเรียนข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ลูกเสือ ล้วนแต่ใช้คำว่า “ข้าพเจ้าจะ…..” คือยังไม่ลงมือทำสักทีไม่ทราบว่าลังเลใจอะไรอยู่
จึงเหมือนกับวัว ๔ ตัวได้แต่ขู่ ๆ กัน ยังไม่ชนกันสักที
ความฝันที่ 2
“รุกขา” แปลว่าต้นไม้ ในความฝันเห็นต้นไม้มีดอกมีผลเต็มไปหมด พองอกได้คืบก็ออกดอก ได้ศอกก็ออกผลทั่วทั้งแผ่นดินพระพุทธเจ้าทรงอธิบายความฝันนี้ว่า ในอนาคต ศีลธรรมของคนเสื่อมลง จนแม้เด็กหญิงก็มีลูกตั้งแต่เริ่มแรกรุ่นทุกหนทุกแห่งในโลก เป็นนางก่อนนางสาว
ในปัจจุบัน การให้การศึกษาผิด ๆ ในเรื่องเพศศึกษา ทำให้เด็ก ๆ ชิงสุกก่อนห่าม หมดความละอายในเรื่องเพศ การศึกษาในเรื่องเพศศึกษากลายเป็นส่วนสนับสนุนให้เด็กประพฤติผิดทางเพศมากขึ้น นี่คือความหมายของความฝันนี้
ความฝันที่ ๓
“คาวิโย” พระเจ้าปัทเสนธิโกศล ทรงฝันเห็นว่าแม่วัวต้องกินนมของลูกตัวเอง แม้เกิดมาวันเดียวเท่านั้นพระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตนี้ เมื่อมนุษย์ไร้ศีลธรรม ไม่มีความเคารพผู้สูงกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก, เด็กกับคนแก่, ครูกับลูกศิษย์เปลี่ยนแปลงไป คนแก่ไม่สามารถประกอบกิจการงานเลี้ยงชีวิตด้วยตนเอง ต้องพึ่งลูกหลานเพื่อการยังชีพ นั่นคือ “แม่วัวต้องกินนมลูกวัว” เพราะว่ามาถึงสมัยนี้ไม่มีความกตัญญูรู้คุณอีกต่อไป มันตรงข้ามกับสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง
ความฝันที่ ๔
“ควา จ” แปลว่าลูกวัวที่เขายังไม่งอก อายุยังน้อย ยังไม่ถึงวัยทำงาน พระเจ้าปัทเสนธิโกศลทรงฝันเห็นมนุษย์จับลูกวัวอายุน้อย ๆ หรือ “ลูกแหง่” นี้ เข้าเทียมแอก เทียมไถ ใช้ทำงานมันก็ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง ทำดีบ้างเสียบ้าง
พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า ในอนาคต เมื่อมนุษย์ไร้ศีลธรรม ไม่มีความเป็นธรรมระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง เอาเด็กมาเป็นผู้ปกครอง ทำให้การบ้านการเมืองเสียหาย มีแต่รู้เฟ้อ ขาดความรู้ความชำนาญ
การเอาคนขาดความรู้ ความชำนาญ ยังเด็กเกินไปในชีวิตมาบริหารงาน แม้จะเรียนมามาก แต่ขาดความชำนาญ ขาดประสบการณ์ การบริหารงานก็ไม่ได้ผล
ความฝันที่ ๕
“อสฺโส” แปลว่า ม้าตัวหนึ่ง มีปากทั้งสองข้างคนเลี้ยงต่างเอากล้าข้าวเหนียว ป้อนทั้งสองปากพร้อม ๆ กันคนเลี้ยงจึงเหนื่อยมากที่เดียวพระพุทธองค์อธิบายว่า ในอนาคต เมื่อคนไร้ศีลธรรม เขาจะเอาคนที่ไม่เชื่อในบุญและบาป มาทำหน้าที่สำคัญในโรงในศาล เป็นผู้พิพากษา ตุลาการ อัยการ ทนายว่าความวินิจฉัยคดี คนพวกนี้จะกินสินบนจากคู่ความทั้งสองฝ่าย คือทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายโจทก์ และฝ่ายจำเลย แล้วจึงตัดสินความตามแต่ตนจะพอใจ
ถ้าทั้งโลกเป็นอย่างนี้ ก็น่าจะเชื่อได้ว่า ฉากสุดท้ายของโลกมาถึงแล้ว ม้าตัวหนึ่งมีสองปาก กินหญ้าสองปากพร้อมกัน ปัจจุบันจะเห็นม้าที่น่าดูยิ่งกว่านั้น คือ ประเทศเล็ก ๆ รับความช่วยเหลือจากมหาประเทศสองฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกัน ม้าสองปากมีมากมาย แม้แต่คนเราก็เป็นม้าสองปาก ปากหนึ่งไม่ทำบุญ แต่อีกปากหนึ่งจะเอาสวรรค์มันค้านกันอยู่ เขารักกิเลสมากกว่ารักธรรมะ
ความฝันที่ ๖
“กํโส” แปลว่าถาดทองสัมฤทธิ์ พระเจ้าปัทเสนธิโกศลทรงพระสุบินว่า มนุษย์ต่างขัดถาดทองสัมฤทธิ์ ราคาเป็นแสน ให้เป็นเงางาม สะอาด แล้วนำไปให้สุนัขเยี่ยวรด พระพุทธเจ้าทรงอธิบายความฝันนี้ว่า สมัยเมื่อมนุษย์ไร้ศีลธรรมอย่างรุนแรงจนเกิดความจำเป็นที่ทำให้คนในตระกูลสูงต้องยกกุลสตรีในตระกูลของตนให้แก่คนในตระกูลถ่อย นี่คือความหมายตามภาษาบาลี คนตระกูลสูงต้องง้อคนตระกูลถ่อย เพราะเป็นสมัยที่คนถ่อยมีอำนาจ คนในตระกูลสูงอยู่ในความประมาท ในขณะที่พวกตระกูลต่ำ ๆ ต่างยกตัวเองขึ้นด้วยการศึกษา จนได้รับการแต่งตั้งให้เข้ารับราชการแทนพวกตระกูลสูง พวกตระกูลสูงจึงต้อวยอมให้บุตรธิดาของตนสมรสกับคนต่ำ ๆ
ปัจจุบันความบีบคั้นทางเศรษฐกิจทำให้คนในตระกูลสูงรักษาศักดิ์ศรีของตนไว้ไม้ได้ ต้องยอมให้คนพาลคครองเมือง เท่ากับการเอาถาดทองสัมฤทธิ์ราคาเป็นแสนรองให้สุนัขเยี่ยวใส่
ความฝันที่ ๗
พระเจ้าปัทเสนธิโกศลทรงพระสุบินว่า “สิคาลี” หมายความถึง ผู้ชายนั่งควั่นเชือกด้วยหนังสัตว์แล้วหย่อนเชือกที่ควั่นได้ลงใต้ตั่ง ควั่นไป หย่อนไป หารู้ไม่ว่า ภายใต้ตั่งมีนางสุนัขตัวหนึ่งเคี้ยวหนังที่ควั่นเป็นเชือกกินจนไม่มีเหลือ จนชายที่ควั่นเชือกเหนื่อยเจียนตาย พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า ในอนาคต เมื่อมนุษย์ไร้ศีลธรรม หญิงรักชายชู้มาเล่นชู้กันถึงในบ้าน ถ้าดูให้ดีเราจะเห็นว่าในสมัยนี้ ความหมายก็คือ ผู้หญิงผลาญหยาดเหงื่อแรงงานสามีมาใช้อย่างฟุ่มเฟื้อ ต้องการความสุขส่วนตัวมากกว่าที่มีความสุขจากการทำหน้าที่ภรรยา และความภาคภูมิใจในการเลี้ยงดูลูก
ปัจจุบันผู้หญิงต้องการความเสมอภาคมากขึ้น พระพุทธองค์ตรัสว่า “ทุกฺโข สมาน ส วาโส” ความว่า “การอยู่เสมอกันเป็นทุกข์อย่างยิ่ง” ผู้ชายทำอะไร ผู้หญิงก็จะทำอย่างนั้นบ้าง จะเกิดความยุ่งยากมาจากความต้องการเสมอภาคกัน ทำให้ “ผู้หญิงจะกินผู้ชายมากขึ้น” เหมือนนางสุนัขที่อยู่ใต้ตั่งกินเชื่อกหนังที่ชายควั่นหย่อนลงไป จะมีในอนาคต เมื่อไร้ศีลธรรม
ความฝันที่ ๘
“กุมโพ” หมายถึงตุ่มน้ำ ความฝันนี้มีว่า มีโอ่งน้ำใบใหญ่ใบหนึ่ง มีโอ่งใบเล็ก ๆ ล้อมอยู่เป็นอันมาก มนุษย์ต่างก็ตักน้ำใส่แต่โอ่งใบใหญ่ใบเดียวเท่านั้น จนล้นแล้วล้นอีกก็ยังใส่ ไม่มีใครตักใส่ในโอ่งใบเล็ก ๆ ที่อยู่รอบตุ่มใบใหญ่ใบนั้นบ้างเลยพระพุทธเจ้าทรงอธิบายความฝันนี้ว่า ในอนาคตเมื่อโลกนี้ไม่ประกอบด้วยศีลธรรมเลย จะเกิดจอมเผด็จการตั้งตัวเป็นใหญ่ ใช้อำนาจบีบบังคับประชาชน เอาพืชผลที่ได้ทั้งหมดทั่วประเทศ มาใส่ยุ้งฉางของคนนั้นคนเดียว เพราะเขามีอำนาจ มีเงิน มีพรรคพวก
เมื่อคนไม่ประกอบด้วยธรรมแล้วจะมีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น แต่เราอาจจะมองได้อีกอย่างหนึ่งคือ ในปัจจุบันนี้มีระบบสูบเลือด ขูดรีดของนายทุน ผูกขาดโดยระบบกิเลส จึงไปรวยมากที่จุด ๆ หนึ่งเพียงจุดเดียวนอกจากนั้นก็ขาดแคลน
ปัจจุบันเราจะเห็นว่า ความเจริญมีแต่ในเมืองหลวง บ้านนอกไม่มีใครสนใจคล้าย ๆ กับว่าความเจริญในประเทศไทยมีแต่ในกรุงเทพ ทำกรุงเทพฯ ให้ใหญ่จนมีปัญหาเหลื่อประมาณ เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาจราจร ส่วนบ้านนอกคอกนาก็ยังร้างอยู่ เช่น เศรษฐกิจอุตสาหกรรม ทำให้คนมั่งมีได้มั่งมียิ่งขึ้น เครื่องจักรทำงานแทนแรงคนจนเสียหมด ทำให้คนไม่มีงานทำ นี่คือโอ่งน้อย ๆ ที่ว่างพร่อง และโอ่งใหญ่ที่เต้มล้น ทำคล้าย ๆ กับว่าที่กรุงเทพ ฯ เท่านั้นที่เป็นประเทศไทย บ้านนอกคอกนาไม่มีครสนใจ ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน
ความฝันที่ ๙
“โปกฺขรณี” แปลว่า สระน้ำ กว้าง ใหญ่ ลึก พระเจ้าแผ่นดินปัทเสนธิดกศลทรงพระสุบินว่า พบสระโปกขรณีทั้งกว้าง ทั้งใหญ่ ทั้งลึก แต่ตรงกลางสระขุ่น เป็นปลักเป็นโคลนตม ส่วนริมสระนั้นทั้ง ๆ ทีมีฝูงสัตว์ทุกชนิดลงอาบกิน ย่ำ อยู่เสมอแต่ริมสระนั้นกลับใสแจ๋วเย็นสะอาดพระพุทะองค์ทรงอธิบายว่า ในอนาคตในสมัยที่มนุษย์ไร้ศีลธรรม ชนผู้เป็นชนชั้นปกครองทารุณ บีบคั้นคนสุจริต คนสุจริตต้องหนีออกจากเมืองเข้าป่า ซึ่งเรื่องนี้เข้ากับเรื่องเล่า “ขงจื้อ”
“ขงจือ” เป็นนักศึกษา เขาอยากดูความเป็นไปที่แท้จริงจึงเข้าไปในป่า พบคนจำนวนมากที่นอนให้เสือกิน คืนละคนสองคนเสมอ ขงจื้อถามว่าเหตุใดจึงยอมมานอนให้เสือกิน ชาวบ้านตอบว่า “เสือกินที่นี้ดีกว่าในเมืองอยุติธรรมมันกิน” หมายความว่า ความไม่เป็นธรรมบีบคั้น มาให้เสื่อกินดีกว่า แสดงว่าคนเราชอบความจริงความยุติธรรม เมื่อชนชั้นปกครองโหดร้าย ทารุณ จนคนในเมืองหนีเข้าป่า ในเมืองไร้ศีลธรรม แต่บ้านนอกในป่าไกลออกไปที่ความเจริญยังเข้าไปไม่ถึงนั้นยังมีศีลธรรม นี่คือริมสระน้ำใสแจ๋วทั้งที่มีสัตว์เหยียบย่ำอยู่ แต่ตรงกลางสระน้ำกลับขุ่นมัวเป็นโคลนตม ทั้ง ๆ ที่มันลึกและกว้างใหญ่
ในเมืองสกปรกในป่าสะอาด ในเมืองร้อนในป่าเย็น ในเมืองเหม็นในป่าหอม แต่ก่อนขโมย
โจรอัธพาล คนชั่วต้องหลบซ่อนตัวอยู่ตามถ้ำ ตามป่า ตามเขา เดี๋ยวนี้คนชั่วเหล่านี้อยู่ในเมือง ยิ่งเป็นคนมีความรู้มีการศึกษามาก ยิ่งปราบยากขึ้นทุกที มีแต่วิกฤตการณ์ที่เลวร้าย แต่บ้านนอกเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความรักความเมตตา โดยไม่ต้องอาศัยอำนาจอาชญา รัฐบาลคิดแต่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ,การเมืองกฎหมาย ลืมนึกไปว่าที่สำคัญกว่านั้นคือ ศีลธรรม
ความฝันที่ ๑๐
“อปากํ” แปลว่า เหมือนกับไม่ได้หุง พระเจ้าปัทเสนธิโกศลทรงพระสุบินเห็นข้าวหม้อหนึ่งที่คนหุงไว้ ในหม้อเดียวกัน ข้างในแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งยังดิบเป็นเมล็ดข้าวสารอยู่ ส่วนหนึ่งยังสุก ๆ ดิบ ๆ ส่วนหนึ่งก็แหลกเหลวไปเลยในหม้อเดียวกัน พระพุทะองค์ทรงอธิบายว่า สมัยหนึ่งคนประพฤติธรรมโดยสิ้นเชิง ชนชั้นปกครอง รัฐบาล ราชตระกูล อำมาตย์ ราษฎรทุกคนพากันถือ “อำนาจเป็นธรรม” ไม่เคารพหลักธรรม จนกระทั่งเทวดาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์พลอยเดือดร้อนไปด้วย จึงบรรดาลให้ฝนตกไม่เท่ากัน บางแห่งให้ฝนตกมากเกินไปจนพืชพันธ์ธัญญาหารเสียหาย อีกแห่งหนึ่งไม่ตกเลย แล้งจนไม่มีน้ำกิน พืชพันธ์แห้งตายกันหมด อีกแห่งก็ตกบ้างไม่ตกบ้าง
ในสมัยเมื่อมนุษย์ไร้ศีลธรรม จะมีแต่คนสุก ๆ ดิบ ๆ หาคนสุกยาก โลกปัจจุบันนี้พิจารณาดูจะเห็นว่า จะมีคนรวย เกินไปอยู่พวกหนึ่ง พวกคนจน ๆ ไม่มีจะกิน ตายคราวละมาก ๆ อีกพวกหนึ่ง ส่วนอีกพวกหนึ่งก็มีกินพอประทังชีวิตไปวัน ๆ หนึ่ง โลกเดียวกันแบ่งเป็น 3 ส่วนอย่างนี้ แม้แต่รัฐสภายังประกอบไปด้วยสมาชิก 3 ชนิด คือ ดิบเป็นเมล็ดข้าวสาร เลวมาก หรือโง่อย่างนี้ก็มี สุก ๆ ดิบ ๆ ก็มี ที่สุกจริง ๆ มีไม่กี่เมล็ด เพราะเพ้ออยู่ด้วยประชาธิปไตยบ้าง หลงใหลในอุดมคติบ้าง ไม่พอดีไม่ถูกต้อง ที่ดี ๆ มีอยู่น้อย ไปดูในรัฐสภาก็จะเห็นหม้อข้าวชนิดนี้ แม้ในบ้าน ตลาด อำเภอ จังหวัดก็เป็นอย่างนี้ คือไม่มีความพอดี
แม้แต่ในบ้านก็ยังหาความพอดีไม่ได้ ไม่ยอมลงกัน เพราะไม่มีศีลธรรมนั่นเอง พ่อกินเหล้า แม่เล่นการพนัน ลูกสาวบ้าแต่งตัว ลูกชายบ้าเจ้าชู้ใช้เงินเปลือง แต่ละคนก็ไปกันคนละทาง นี่คือข้าวหม้อเดียวกันในบ้านหลังหนึ่ง แต่แยกกันเป็นส่วน ๆ อย่างนี้
ความฝันที่ ๑๑
“จนฺทนํ” แปลว่า แก่นจันทร์แดง ราคาเป็นแสน พระเจ้าแผ่นดินปัทเสนธิโกศลทรงพระสุบินว่า เห็นคนพวกหนึ่งเอาแก่นจันทร์แดงอย่างดี ราคาแพงไปแลกกับนมเปรี้ยวกระปุกเดียว นมเปรี้ยว (ในประเทศอินเดีย) คือนมอย่างเลวที่สุดในบรรดานมทั้งหลาย ดังมีปรากกในอรรถกถา แห่ง มหาสุบินชาดก วรรคที่ 8 เอกนิบาต หน้า 156 เล่ม 2 ความว่า- สตสหสฺส สคฺคนกํ จนฺทนสารํ ปูติตกฺเกน วิกฺกินนฺเต อทฺทสํ
ฝันเห็นชนพวกหนึ่ง เอาแก่นจันทร์แดงอย่างดี ราคาเป็นแสน ไปแลกกับนมเปรี้ยวกระปุกเดียว
พระผู้มีพระภาคทรงตรัสตอบว่า
- อนาคตสฺมึ หิ ปจฺจยดลลา อลชฺชี ภิกฺขู พหู พวิสฺสนฺติ
ในกาลฝ่ายอนาคต จะมีภิกษุอลัชชีที่โลเลด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้น เป็นอันมาก
- เตมยา ปจฺจย โลลุปฺปํ นิมฺมเภตฺตวา กตฺถิต ธมฺมเทสนํ จีวรานิ ปจฺจยเหตุ เทเสถ สนฺติ
อลัชชีเหล่านั้นจะแสดงธรรมที่เราได้กล่าวไว้เพื่อเสียสละปัจจัยนั้นเสีย เพื่อให้มุ่งต่อหน้าพระนิพพาน แต่ก็เอามาแสดงเพื่อปัจจัย มีจีวรเป็นต้นเหล่านี้
- ปจฺจเยหิ มุจจิตฺตวา นิสฺสนร ปกฺเข ฐิตา นิพฺพานา ภิมุกฺขํ กตฺตวา เทเสตํ นสิกฺขต สนฺติ
เขาไม่อาจแสดงธรรมที่ลสะปัจจัย ตั้งอยู่ในสรณะ มีนิพานเป็นเบื้องหน้า เขาแสดงไม่เป็น
- เกวลํ ปท พยญฺชนํ สมฺปฏิจฺเจว มธุรสทํ จ สุตฺตวา มหสฺทานิ จีวราทีนิ สนฺติเจว ทาเปตุ สนฺติ จ
มหาชนทั้งหลาย (ต้องเป็นคนโง่แน่นอน) ได้ฟังเสียงที่แสดงถึงพร้อมด้วยพยัญชนะ เช่น
กาพย์ บทกลอนอันไพเราะ แล้วก็ถวายจีวรแพง ๆ เป็นปัจจัย และให้คนอื่นถวายบ้าง
- อปเร อนฺตราวีถิ จตุกราชทวาราสุ นิสีทิตฺตวา กหาปนตฺถ กหาปทมาสก ณุปาที นิสฺสาย ธมฺมเทสนฺติ
อลัชชีพวกอื่น ๆ บางพวก ก็นั่งตามถนน ตามประตูเมืองแล้วแสดงธรรม เพื่อเห็นแก่เงิน แก่กหาปนะบ้าง ครั้งละ 1 กหาปนะบ้าง 1 บาทบ้าง 1 มาสกบ้าง
- อติมยา นิพฺพานกฺข นกํ กตฺตวา เทสิตธมฺมํ จตุปฺปจจยตฺถาย เจว กหาปนตฺถ กหาปนาทีนํ อตฺถาย จ วิกฺกินิตฺตวา เทเสนฺตา สตสหสฺสคฺคนิก จนฺทนสารํ ปูติตกฺเกน วิกกินนฺตา วิย ภวิสฺสนฺติ
ด้วยการเหล่านี้ ภิกษุอลัชชีเหล่านั้น แสดงธรรมที่เราแสดงไว้ เพื่อพระนิพพาน นำมาเสองเพื่อเงินบ้าง 1 กหาปนะบ้าง ครึ่งกหาปนะบ้าง 1 บาทบ้าง 1 มาสกบ้าง ก็เท่ากับเอาแก่นจันทร์แดงราคาเป็นแสนมาแลกกับนมเปรี้ยวเพียงกระปุกเดียวเท่านั้น
พระพุทธองค์ทรงอธิบายความข้อนี้ว่า ในอนาคตเมื่อมนุษย์ทิ้งศีลธรรม นักบวชทั้งหลายได้ศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยของพระตถาคตซึ่งมีวิมุตติเป็นแก่นสาร แต่นำธรรมเหล่านี้ไปแลกลาภผล เพราะเห็นแก่ปากแก่ท้อง นำคำติเตียนความโลภของตถาคตแสดงให้แก่มหาชนทั้งหลายให้ละความโลภ โดยสละปัจจัยถวายตน แต่พระที่แท้แสดงธรรมโดยไม่รับเครื่องกัณฑ์ เขาหาว่าเบ่ง ว่าแกล้งทับผู้อื่น อวดดี พอแสดงเรื่องพระนิพพานเขาหาว่าคร่ำครึ บ้าล้าสมัย อวดความรู้เป็น “ข้าศึกต่อการพัฒนา” ก็เลยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้ตรงกับพุทะประสงค์ แต่ก็ต้องไม่ทำชนิดที่ว่า “เอาแก่นจันทร์แดงไปแลกกับนมเปรี้ยว 1 กระปุก” จึงได้แต่สงสารพระดี ๆ อย่างนี้ เพราะอลัชชีเหล่านี้ไม่อาจถอนตนออกจากความเป็นทาส บวชคอยจังหวะที่จะออกไปเท่านั้น
ความฝันที่ ๑๒
“ลาวูนิ สีทนฺติ” แปลว่า น้ำเต้าแห้ง กลมกลวงเกลี้ยงลื่น พระเจ้าปัทเสนธิโกศลทรงพระสุบินว่า เห็นน้ำเต้าแห้ง ซึ่งปกติลอยน้ำได้ กลับจมดิ่งลง พระพุทธองค์ทรงอธิบายตามฝันนี้ว่า โลกแปรปรวนจนถึงนิยมนับถือถ้อยคำของคนโกง ในราชสำนัก ในที่ประชุม ที่วินิจฉัย กลุ่มต่าง ๆ ถ้อยคำของคนเท็จ คนหัวประจบ กลับได้รับความเชื่อถือยกย่อง ส่วนคำของสัตบุรุษจะถูกเยาะเย้ย ถากถาง แต่คำของอลัชชีจะถูกยกย่องราวกับว่าเป็น “นัยยานิกกรรม” (ธรรมที่นำสัตว์ออกจากทุกข์ไปสู่พระนิพพาน) สัตตบุรุษ คือ คนดี คนมีศีลธรรม ประพฤติตรง ปฏิบัติชอบ จะถูกดูถูก เยาะเย้ย ถากถางปัจจุบันนี้ คนดูหมิ่นพ่อ-แม่ ครู พระ ศาสนา ว่าศาสนาไม่จำเป็น น้ำเต้าแห้งกลวงกลมเปล่าจมน้ำอย่างนี้ ส่วนเรื่องวัตถุ เรื่องกามารมณ์ กลับถูกยกย่อง ถ้าประเทศใด บ้านเมืองใด หมู่บ้านใด ครอบครัวใดถือธรรมะอยู่จะอับเฉา แห้งแล้ง เงียบเชียบ ไม่เด่น ไม่มีใครคบหาสมาคม โลกปัจจุบันถือว่าร่ำรวย สวยงาม หรูหราคือสิ่งดี
ความฝันที่ ๑๓
ข้อที่สิบสามเนื่องกับข้อที่สิบสอง “สิลา” แปลว่าก้อนหินแน่นทึบ ใหญ่โตเท่าบ้านเท่าเรือน พากันลอยน้ำฟ่อง อยู่เหนือน้ำ เหมือนกลีบบัว หรือเหมือนเรือสำเภา บรรทุกสินค้าลอยเต็มไปหมดทั่วบ้านทั่วเมือง นี่เป็นความฝันอีกข้อหนึ่งพระพุทธองค์ทรงอธิบายยความฝันนี้ว่า ในอนาคตเมื่อมนุษย์ไร้ศีลธรรม โลกจะแปรปรวนทั้งโลก แผ่นดินและโลกมนุษย์ทำคนตระกูลสูงให้ตกยากลงมากมาย คนในตระกูลต่ำกลับมั่งคั่ง และไม่เคารพคนในตระกูลสูง คนไพร่ตะกูลต่ำเยาะเย้ย ถากถางผู้ดีตระกูลสูง พวกอลัชชีกดขี่ ข่มเหง ภิกษุผู้เป็นลัชชี ด่าทอนักปราชญ์ สัตบุรุษ
ปัจจุบันยกย่องวัตถุ กามอารมณ์ เห็นเงินดีกว่า “อุดมคติ” เงินถูกย่อย่องเป็นศาสนา อำนาจถูกยกย่องเป็นธรรม
ด้านการศึกษา เห็นกงจักรนั้นเป็นดอกบัว สอนให้รู้อ่าน-เขียนรู้ประกอบอาชีพ แต่ไม่รู้จักแก้ปัญหา เวลาที่มีความทุกข์เพราะขาดความรู้ที่เป็นคุณธรรม คือ ก้อนหินลอยน้ำได้
ความฝันที่ ๑๔
“ มณฑูกิโย กณฺหสปฺเป คิลนฺติ” หมายความว่า กบเขียดตัวเล็ก ๆ ไล่ตามงูเห่าดำตัวมหึมาทันแล้วกลืนกินเหมือนไล่จับแมลงเล็ก ๆ กินฉะนั้นพระพุทะองค์ทรงอธิบายความฝันนี้ว่า ต่อไปในอนาคตมนุษย์ไร้ศีลธรรม เพศชายตกอยู่ใต้อำนาจเพศหญิงเพราะหลงไหลในกามในราคะ ทรัพย์สมบัติ จะเห็นได้ทุกหนทุกแห่ง ในที่ทำงาน สถานที่ราชการ ตามบ้านเรือน ตามสถานตากอากาศ เพศชายหลงไหลในกามราคะมากมาย จนบางที่ถึงกับติดคุกติดตารางเป็นหนี้เป็นสิน เมื่อเป็นเช่นนี้อำนาจอยู่ในมือผู้หญิงทั้งหมด ทำให้ถือว่าอยู่เหนือผู้ชาย โดยเฉพาะในเมื่อ ผู้หญิงเต็มไปด้วยศิลปะแห่งการยั่วยวน สามารถมัดผู้ชายให้อยู่ในมือได้ จะมีผลดีก็เพราะเชื่อว่าจะสามารถห้ามผู้ชายไม่ให้รบกันเท่านั้น ข้อนี้อาจเปรียบไปได้ว่า หมายถึงผู้ที่ไม่มีอำนาจอะไร จะสามรถบงการผู้มีอำนาจได้ด้วยเล่ห์เหลี่ยมบางอย่าง สามารถทำให้ผู้มีอำนาจกลัวได้ เมื่อมนุษย์ไร้ศีลธรรมถึงที่สุดความฝันนี้จะเป็นจริงขึ้นได้
ความฝันที่ ๑๕
“กากํ สุวณฺณา ปริวารยนฺติ” ความว่า ชาติราชสุวรรณหงส์ สีทองต้องมารับใช้กา นี่คือความฝันของพระเจ้าปัทเสนธิโกศลพระพุทธองค์ทรงอธิบายความฝันว่า สมัยที่ไร้ศีลธรรมไร้ธรรมะ คนที่มียศฐาบรรดาศักดิ์ กลายเป็นคนขี้ขลาดหวาดระแวง ยกคนเลวคนพาลขึ้นเป็นหัวหน้า คนพาลนี้เลยทำให้คนดีเดือดร้อน กดขี่ ข่มเหง ใครทนไม่ได้ก็ต้องหนีไป หนีไม่ได้ก็ต้องทนให้คนพาลใช้สอยตามต้องการ ถ้าจะดูให้จริงกว่านี้ คนไร้ศีลธรรมยังขูดรีดบีบบังคับคนดีมากขึ้นในอีกหลายแง่หลายมุม
ความฝันที่ ๑๖
“ตสาวกา เอฬกานํ ภายนฺติ” คือ แกะทั้งหลายต่างไล่จับเสือเหลืองมากินจนเสือทั้งหลายหนีหายไปหมด พระเจ้าปัทเสนธิโกศลทรงพระสุบินเห็นดังนี้พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า ในสมัยหนึ่งเกิดอธรรมขึ้นมา แม้ในชนชั้นปกครอง ก็ไม่ประกอบด้วยธรรมมีราชวัลลภเลว ๆ หรือเป็นพาลเป็นบริวารให้อำนาจแก่ราชวัลลภกดขี่อำมาตย์ เสนาบดีที่ซื่อตรงจนพวกนี้ต้องหนีไป
เรื่องทั้งหมดล้วนแต่น่ากลัว พ่อแม่กลัวลูก ครูกลัวลูกศิษย์ นายจ้างกลัวลูกจ้าง ผู้ใหญ่กลัวผู้น้อย คนที่ทำความผิดกลัวลูกน้องเปิดโปง มหาประเทศใหญ่ ๆ ในโลกเวลานี้ กลัวประเทศเล็ก ๆ ด้วยเหตุผลบางประการก็มี มีค่าเท่ากับลูกแกะทำให้เสือกลัวได้เหมือนกัน
ความฝันทุกเรื่องจากพุทธทำนายนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อศีล “เสื่อม” หรือ “ไม่มีศีลธรรม” ขณะนี้โลกกำลังสู่ภาวะไร้ศีลธรรม เพราะฉะนั้นละครเหล่านี้ก็หาดูได้ง่ายในปัจจุบันนี้ เป็นละครที่น่าเศร้าสักหน่อย
สรุปความว่า เพราะโลกเสื่อมศีลธรรมจนถึงที่สุด ก็จะถึงคราววินาศ ถ้าเผอิญโชคดีมีคนมาช่วยไว้มันก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีได้ ไม่ควรท้อแท้ว่าจะเป็นเช่นนี้เสมอไป เพราะฉะนั้นจงทำแต่ในทางที่ถูกที่ควร
โลก -แผ่นดิน ไร้ศีลธรรมผิดปกติ
โลก - ร่างกาย คนก็ไร้ภาวะปกติ
โลก- วิญญาณ ก็ไร้ภาวะปกติ
ทุกโลกเสื่อมสู่ภาวะไร้ศีลธรรม แม้ตัวสวยแต่จิตทรามไร้มนุษยธรรม ไร้ศาสนา ไร้เหตุแห่งศีลธรรม มีแต่อาชญากรรม อาชญากร ธรรมชาติถูกทำลายมาบำเรอความสุข บำเรอกามารมณ์ บำรุง “อวิชชา” คนในโลกส่วนใหญ่ไม่ใช่ทุกคนแต่หากปล่อยไว้อย่างนี้ต่อไปจะไม่มีอะไรเหลือ ดังนั้นจะต้องช่วยกันรักษาบ้านเกิดเมืองนอน นำศีลธรรมกลับมา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)